Page 51 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 51
CAPITAL PUNISHMENT โทษประหารชีวิต
โทษอาญาโดยมุ่งทำาให้บุคคลที่ถูกลงโทษตาย ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด ๆ
ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำานี้มีความหมายเหมือนกับ DEATH PENALTY
(ดูความหมายใน DEATH PENALTY)
ใน พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ประมวลกฎหมายอาญาของไทยกำาหนด
การประหารชีวิตต้องทำาโดยการฉีดสารพิษให้ตาย ก่อนหน้านั้นประเทศไทย
ประหารชีวิตโดยวิธีการยิงและตัดคอ
CASE LAW กฎหมายที่มาจากคำาพิพากษา
คำาวินิจฉัยของศาลที่เป็นการอธิบายเหตุผลของหลักกฎหมายที่นำามา
ปรับใช้ในการวินิจฉัยคดี โดยศาลจะอ้างแนวคำาพิพากษาจากคดีที่เคยตัดสิน
ไว้แล้วมาประกอบการให้เหตุผล
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ถือว่าคำาวินิจฉัยของศาลสูงจะผูกพัน
ศาลล่าง คำาพิพากษาของศาลสูงจะวางหลักการเห่งกฎหมาย และอธิบาย
เหตุผลของกฎหมาย ดังนั้นศาลล่างจะต้องอธิบายกฎหมายให้สอดคล้อง
กับศาลสูง ในการวินิจฉัยคดีในระบบนี้ถือว่า คำาพิพากษาของศาลเป็นที่มา
ของกฎหมายประเภทหนึ่ง ที่มาอีกประเภทหนึ่งของกฎหมายในระบบ
คอมมอนลอว์ คือ กฎหมายบัญญัติ (Statutory Law) หรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้น
ระบบซีวิลลอว์ไม่ถือว่าคำาพิพากษาเป็นที่มาของกฎหมาย เนื่องจากว่า
ในระบบนี้ถืออย่างเคร่งครัดว่า ศาลมีหน้าที่ปรับใช้กฎหมายในคดีนั้น ๆ อย่างไร
ก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่า ศาลมีหน้าที่ในการอธิบายกฎหมายที่บัญญัติไว้
เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อให้เกิดแนวคำาวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ในทางทฤษฎีถือว่าคำาวินิจฉัยของศาลผูกพันเฉพาะคดีนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม คำาพิพากษาของศาลในระบบซีวิลลอว์ มีบทบาท
ในการชี้แนะเป็นแนวทางให้แก่ศาลในคดีหลังได้ ดังนั้น ในระบบซีวิลลอว์
จึงมีการอ้างคำาพิพากษาคดีก่อน ประกอบคำาอธิบายกฎหมายเช่นเดียวกัน
40