Page 220 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 220
TRIAL IN CAMERA การพิจารณาเป็นการลับ
คำาว่า in camera เป็นภาษาละติน แปลว่า ในห้อง (In a Chamber)
รูปแบบ หรือวิธีการพิจารณาคดีในศาลที่ไม่ให้บุคคลทั่วไปและ
สื่อมวลชนเข้าร่วมฟังการไต่สวนสืบพยานในศาลเว้นแต่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
กับการดำาเนินคดีนั้นซึ่งเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปของการไต่สวนพิจารณา
คดีอาญาที่มีหลักว่าจะต้องกระทำาต่อหน้าจำาเลยและต้องเป็นการพิจารณา
โดยเปิดเผย (ดู OPEN TRIAL / PUBLIC TRIAL) เพื่อไม่ให้รัฐใช้กระบวนการ
ยุติธรรมกลั่นแกล้งจำาเลย และเป็นการเปิดโอกาสให้สาธารณชนตรวจสอบ
ความชอบธรรมและความถูกต้องของกระบวนการยุติธรรม
เนื่องจากบางกรณีการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยอาจจะกระทบต่อศีลธรรม
อันดีของสังคม ความมั่นคงของชาติ เช่น คดีความผิดต่อความมั่นคง หรือต้องการ
คุ้มครองความปลอดภัยของพยาน เช่น ในคดีก่อการร้าย คดีที่เกี่ยวข้อง
กับผู้มีอิทธิพล หรือต้องการคุ้มครองชื่อเสียงเกียรติยศของผู้เสียหาย เช่น
ความผิดฐานข่มขืนกระทำาชำาเราเด็ก เป็นต้น ดังนั้นจึงยอมให้พิจารณาคดี
โดยไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาไต่สวนคดีเข้าร่วมฟังการพิจารณาได้
หลักการนี้เป็นข้อยกเว้นสิทธิของจำาเลยที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย
จึงต้องเป็นกรณีที่จำาเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นโดยแท้จริง
หลายประเทศได้วางหลักเกณฑ์ระเบียบที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการพิจารณา
เป็นการลับไว้
ในการพิจารณาในศาลเยาวชนมักจะใช้การพิจารณาเป็นการลับ
เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเกิดความรู้สึกเกิดตราบาปติดตัว ในประเทศไทย ประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 กำาหนดให้ศาลมีอำานาจสั่งให้
พิจารณาเป็นการลับ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือโดยคำาร้องขอของคู่ความฝ่ายใด
แต่ทั้งนี้ต้องคำานึงถึงประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ
เพื่อไม่ให้ประชาชนทั่วไปล่วงรู้ เมื่อมีการพิจารณาเป็นการลับ บุคคลเหล่านี้
เท่านั้นมีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาได้ คือ
209