Page 223 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 223
ความรับผิดของบรรษัทข้ามชาติและภาคธุรกิจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอ
ต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนในคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งต่อมา
ได้เปลี่ยนฐานะเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
ใน ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้รับรองรายงาน
ชื่อ “กรอบการทำางานสหประชาชาติว่าด้วยการปกป้องคุ้มครอง การเคารพ
และการเยียวยา” ที่เสนอโดยนายรักกี ดังนั้นบางทีจึงเรียกแนวทางนี้ว่า
“กรอบการดำาเนินงานแบบรักกี (Ruggie’s Framework)”
กรอบการทำางานดังกล่าว มีหลักการสำาคัญสามประการ คือ
1. รัฐเป็นองค์กรที่อยู่ในลำาดับแรกที่มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง (Protect)
บุคคลไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยบุคคลที่สาม รวมถึงการละเมิด
ที่เกิดจากบรรษัทข้ามชาติและภาคธุรกิจ
2. ภาคธุรกิจและบรรษัทข้ามชาติมีความรับผิดชอบในการเคารพ
(Respect) สิทธิมนุษยชนในการดำาเนินงานภายใต้หลักกฎหมาย
“การใช้ความระมัดระวังอย่างพอเพียง (Due Diligence)” เพื่อไม่ให้
การดำาเนินการตามธุรกิจนำาไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. ขยายการเข้าถึงการเยียวยา (Remedy) การละเมิดสิทธิมนุษยชน
ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการเยียวยาโดยกระบวนการทางศาล และไม่
ใช้กระบวนการทางศาล หรือโดยมาตรการอื่น เช่น การตั้งกองทุน
ชดเชย เป็นต้น
ตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนดั้งเดิม รัฐเท่านั้นที่มีพันธะหน้าที่
ในการประกันสิทธิมนุษยชน (ดู OBLIGATION TO PROTECT, RESPECT
และ FULFIL) บรรษัทข้ามชาติและภาคธุรกิจไม่มีหน้าที่ประกันสิทธิมนุษยชน
แก่บุคคล กรอบการดำาเนินงานของสหประชาชาติฯ ถือว่าเป็นความพยายาม
ของสหประชาชาติในการเชื่อมโยงความรับผิดของบรรษัทข้ามชาติและ
ภาคธุรกิจกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น
212