Page 225 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 225
หลังจากการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมุนษยชน ณ กรุงเวียนนา
ที่ประชุมได้เสนอแนะว่าสหประชาชาติควรให้ความสำาคัญกับการดำาเนินงาน
ด้านสิทธิมนุษยชนและควรยกระดับคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ
ให้เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติเช่นเดียวกับคณะมนตรีความมั่นคง
และคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ต่อมาใน ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)
สมัชชาใหญ่สหประชาชติได้มีมติให้ยกเลิกคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ
พร้อมทั้งให้จัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนขึ้นและให้โอนงานของ
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ มาเป็นของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
(ดู UNITED NATIONS HUMAN RIGHTS COUNCIL)
UNITED NATIONS ปฏิญญาสหประชาชาติ
DECLARATION ON ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนศึกษา
HUMAN RIGHTS และการฝึกอบรม
EDUCATION AND TRAINING ด้านสิทธิมนุษยชน
ตราสารระหว่างประเทศที่รวบรวมหลักการและแนวทางสำาคัญ
สำาหรับรัฐในการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชนศึกษาและฝึกอบรม
ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ปฏิญญาฯ นี้จัดทำาขึ้นโดยคณะกรรมการ
ที่ปรึกษาคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนและได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่
สหประชาชาติโดยมีมติรับรองในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554)
ปฏิญญาฯ ไม่มีผลทางกฎหมายผูกพันรัฐ และไม่ได้รับรองสิทธิมนุษยชน
ขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด แต่ได้รวบรวมหลัการสำาคัญ ๆ ไว้ในข้อบทรวม 14 ข้อ
ซึ่งครอบคลุมกิจกรรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนศึกษารูปแบบต่าง ๆ ทั้งการศึกษา
ในระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษานอกระบบ ตลอดจนข้อที่ควรคำานึง
ในการศึกษาและอบรมด้านสิทธิมนุษยชนโดยมีเป้าหมายให้มีการจัดการศึกษา
และฝึกอบรมสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
หลักการที่สำาคัญตามปฎิญญาฯ นี้ เช่น
• ข้อ 1 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความรู้ ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชนและสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนศึกษาและการฝึก
อบรมด้านสิทธิมนุษยชน
214