Page 207 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 207
ให้เป็นโสเภณี การใช้แรงงานชำาระหนี้ (ดู CONTEMPORARY FORMS
OF SLAVERY)
การเลิกทาสในประเทศไทยมีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกระบวนการของการปฏิรูปโครงสร้างทาง
สังคมที่ดำาเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้เวลากว่าสามสิบปี ขั้นตอน
การเลิกทาสเริ่มจากประกาศกฎหมายเกษียณอายุลูกทาสลูกไท โดยกำาหนด
ให้ลูกทาสที่เกิดใน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) อันเป็นปีที่พระองค์ทรงขึ้น
ครองราชย์ มีค่าตัวสูงสุดเมื่ออายุเจ็ดถึงแปดปี หลังจากนั้นค่าตัวจะลดต่ำาลง
ทุกปีจนถึงอายุยี่สิบเอ็ดปี ก็ขาดค่าตัวและถือว่าเป็นไท ดังนั้นลูกทาสที่เกิด
ใน พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) จะเป็นไทใน พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) และ
ต่อมาทรงประกาศเลิกทาสในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905)
ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรถือเป็นการสิ้นสุดระบบทาส เหตุผลของการเลิกทาส
ให้คนทำางานเต็มที่เพื่อที่จะได้เก็บภาษีไว้บำารุงประเทศ
คำาที่เกี่ยวข้อง CONTEMPORARY FORMS OF SLAVERY,
ANTI-SLAVERY SOCIETY, CHILD LABOUR, HUMAN
TRAFFICKING
SOCIAL CONTRACT สัญญาประชาคม
ทฤษฎีทางการเมืองที่อธิบายการเกิดขึ้นของสังคมรัฐและความสัมพันธ์
ระหว่างรัฐบาลที่เป็นผู้ปกครองกับประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครอง สัญญา
ประชาคมมีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และรูปแบบ
การปกครองแบบประชาธิปไตยยุคปัจจุบัน
ทฤษฎีนี้ริเริ่มจาก โทมัส ฮ้อบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญา
ชาวอังกฤษ และได้พัฒนาให้มีความชัดเจนขึ้นโดย จอห์น ล็อค (John Locke)
นักปรัชญาชาวอังกฤษ และ ฌอง ฌาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)
นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ตามลำาดับ
ฮ้อบส์เห็นว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ในภาวะธรรมชาติทุกคน
มีอิสรภาพ มีแนวโน้มที่จะประพฤติความชั่วร้าย ไร้กฎเกณฑ์ และมีความหวาดกลัว
ดังนั้นมนุษย์จึงยอมสละเสรีภาพของตัวเองให้กับสังคมเพื่อแลกกับการที่ให้
196