Page 182 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 182

PENOLOGY                       ทัณฑวิทยา

                  วิชาความรู้ หรือวิทยาการเกี่ยวกับโทษทางอาญา และวิธีการลงโทษ
            ผู้กระทำาผิด ทัณฑวิทยาในปัจจุบันมีวิวัฒนาการมาจากขบวนการปฏิรูประบบ
            เรือนจำาในยุโรปในตอนปลายศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงความคิดจากเดิม
            ที่เห็นว่าระบบทัณฑสถานเป็นการควบคุมบุคคลที่เป็นอันตรายต่อสังคมไว้ให้
            ออกจากสังคม มาเป็นการเน้นบทบาทของการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรมและจิตใจ
            ของผู้กระทำาผิดให้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้

                  ปัจจุบันทัณฑวิทยาเป็นแขนงหนึ่งของอาชญาวิทยา  (Criminology)
            หรือวิชาว่าด้วยอาชญากรรมซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของอาชญากรรม
            และการป้องกันอาชญากรรม จัดอยู่ในสาขาสังคมวิทยา (Sociology)

                  คำาที่เกี่ยวข้อง CRIMINAL LAW, PENAL CODE, PENALTY


             PERPETRATOR  อาชญากรที่ทำาความผิดร้ายแรง / ฆาตกร

                  ผู้กระทำาความผิด หรือผู้ใช้ หรือบงการให้ผู้อื่นกระทำาความผิดอาญา
            ที่ร้ายแรง หรือผู้ที่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง โดยการ
            กระทำาดังกล่าวเป็นการกระทำาด้วยเจตนาที่ชั่วร้าย

                  บางทีใช้คำาว่า “ฆาตกร” เรียกบุคคลที่ฆ่าผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความตาย
                  คำาที่เกี่ยวข้อง CRIME, GROSS HUMAN RIGHTS VIOLATION,
            MURDERER



                PLEA BARGAINING   การต่อรองในเรื่องคำาให้การ

                  การเจรจาระหว่างอัยการกับจำาเลยในคดีอาญาเพื่อให้จำาเลย
            รับสารภาพว่าได้กระทำาความผิดเพื่อแลกกับการที่อัยการตกลงว่าจะฟ้องจำาเลย
            ในคดีที่มีโทษเบากว่าที่ได้กระทำาผิด การต่อรองในเรื่องคำาให้การจะอยู่ภายใต้
            เงื่อนไขของกฎหมาย และจะต้องทำาเป็นสัญญา ในบางกรณีถ้าจำาเลยยอมรับ
            สารภาพ คดีก็จะระงับโดยไม่ต้องมีการไต่สวน



                                                                        171
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187