Page 183 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 183
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์
บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ได้บัญญัติรับรองการต่อรองในเรื่อง
คำาให้การ โดยกำาหนดเงื่อนไขของการต่อรองเพื่อไม่ให้จำาเลยเสียโอกาส
ในการต่อสู้คดี
ส่วนในประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายจะไม่มีการต่อรองคำาให้การ
เพราะในระบบนี้จะยึดถือการค้นหาความจริงจากพยานหลักฐานเป็นสำาคัญ
และแม้ว่าจำาเลยจะรับสารภาพ ศาลก็ยังต้องมีหน้าที่ไต่สวนและสืบพยาน
เพื่อพิสูจน์ความผิดของจำาเลยก่อนลงโทษ การจูงใจให้ผู้ต้องหารับสารภาพ
โดยสัญญาว่าจะได้รับการลดหย่อนโทษอาจถือได้ว่าจำาเลยรับสารภาพ
โดยไม่เต็มใจ และเป็นเหตุให้ศาลไม่ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ (ดู
CONFESSION)
คำาที่เกี่ยวข้อง CONFESSION, COMMOM LAW
1. คำาให้การรับหรือปฏิเสธความผิด
PLEADING ตามฟ้อง (คดีอาญา)
2. คำาคู่ความ (คดีแพ่ง)
1. คำาให้การรับหรือปฏิเสธความผิดตามฟ้อง ใช้ในคดีอาญาเป็น
ถ้อยคำาที่จำาเลยแถลงต่อศาลในตอนต้นของกระบวนการพิจารณาคดี
ในการดำาเนินคดีอาญาเมื่อศาลรับคำาฟ้องกล่าวหาว่า จำาเลยกระทำา
ผิดอาญาแล้วศาลจะอ่านข้อกล่าวหาให้จำาเลยฟัง และถามจำาเลยว่า
ได้กระทำาความผิดตามคำาฟ้อง หรือไม่ เพื่อให้จำาเลยให้การรับ
หรือปฏิเสธ ถ้าจำาเลยให้การยอมรับผิดตามฟ้องก็จะใช้ “Plead
Guilty” ถ้าจำาเลยให้การว่า ไม่ได้กระทำาผิดตามฟ้องก็จะใช้ “Plead
Innocence”
ในคดีอาญา ถึงแม้ว่าจำาเลยจะให้การยอมรับผิด แต่ในคดีที่มีอัตราโทษ
จำาคุกขั้นต่ำาตั้งแต่ห้าปี หรือโทษที่สูงกว่า โจทก์ยังต้องมีหน้าที่นำาสืบให้ศาล
เชื่ออย่าง “ปราศจากข้อสงสัย (Beyond Doubt)” ว่าจำาเลยได้กระทำาผิดจริง
ตามฟ้อง ถ้าโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็จะพิพากษาว่าจำาเลยไม่ผิด และปล่อย
จำาเลย
172