Page 179 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 179

หรือ  “ชุมนุมโดยสงบ”  เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักกฎหมาย
            สิทธิมนุษยชน  โดยนัยนี้  การชุมนุมที่ไม่ได้เป็นไปโดยสันติ  การชุมนุมที่ก่อ
            ความรุนแรง (Violence) ย่อมไม่ได้รับการคุ้มครอง

                  ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่รับรองเสรีภาพในการชุมนุม
            อย่างสงบกำาหนดเงื่อนไขการจำากัดเสรีภาพโดยชอบธรรมไว้ในทำานองเดียวกัน
            คือ  ต้องจำากัดโดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ที่จำาเป็น
            สำาหรับสังคมประชาธิปไตย  และมาตรการจำากัดนั้นต้องมีความได้สัดส่วน
            กับเสรีภาพที่ถูกจำากัด  เช่น  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
            และสิทธิทางการเมืองกำาหนดว่า

                  “สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำากัดการใช้สิทธินี้
            จะกระทำามิได้นอกจากจะกำาหนดโดยกฎหมายและเพียงเท่าที่จำาเป็นสำาหรับ
            สังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย
            ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน หรือการ
            คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น”
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยได้รับรองเสรีภาพในการชุมนุม
            และได้กำาหนดเงื่อนไขการจำากัดเสรีภาพไว้ทำานองเดียวกันกับหลักการนี้

                  ปัญหาสำาคัญประการหนึ่งในการคุ้มครองสิทธินี้คือ  การพิจารณาว่า
            การชุมนุมลักษณะใดที่ถือว่าเป็น “ความรุนแรง” เรื่องนี้มีหลักว่า “ความรุนแรง” นั้น
            ต้องพิจารณาจากลักษณะของการชุมนุม  มิใช่พิจารณาจาก  “เนื้อหา”  หรือ
            “สาร” ที่ผู้ชุมนุมต้องการสะท้อนความคิดเห็น นอกจากนั้นมีหลักว่า การชุมนุม
            โดยการใช้อาวุธ การชุมนุมที่มีเป้าหมายสร้างความเดือดร้อนรำาคาญแก่บุคคล
            ที่ไม่ร่วมชุมนุมเพื่อบีบบังคับให้รัฐหรือองค์กรใดตอบสนองความต้องการ
            ของกลุ่มผู้ชุมนุม  การชุมนุมเพื่อปลุกปั่นให้มีความเกลียดชังขึ้นระหว่าง
            กลุ่มชน เป็นการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง

                  การชุมนุมโดยสันติในที่สาธารณะเป็นเสรีภาพจึงไม่ต้องขออนุญาต
            จากเจ้าพนักงานก่อน รัฐต้องให้ความคุ้มครองการชุมนุมที่ชอบด้วยกฎหมาย
            ในกรณีที่เป็นการชุมนุมที่ขัดต่อกฎหมาย เช่น จงใจขัดขวางการจราจร รัฐสามารถ
            จำากัดการชุมนุมได้เพื่อให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมายได้  หรือการชุมนุมที่ก่อ
            ความรุนแรง รัฐสามารถบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความปลอดภัยของสังคม

        168
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184