Page 186 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 186
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) กำาหนด
ให้อัยการศาลมีหน้าที่ไต่สวนมูลฟ้องก่อนจะรับคำาฟ้อง ส่วนศาลสิทธิมนุษยชน
ยุโรป (European Court of Human Rights) มีกระบวนการคล้ายกับ
การไต่สวนมูลฟ้องแต่เรียกว่า “การพิจารณารับเรื่องร้องเรียน” (ดู
ADMISSIBILITY) ซึ่งทำาโดยผู้พิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ก่อนจะเริ่ม
ขั้นตอนการพิจารณาคดี
กฎหมายกำาหนดให้ไต่สวนมูลฟ้องเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บุคคล
ถูกกลั่นแกล้งจากการฟ้องโดยที่ไม่มีมูลเหตุความผิด เพราะการที่บุคคล
ถูกฟ้องเป็นจำาเลยคดีอาญานั้นทำาให้เกิดภาระหน้าที่ในการแก้ต่างคดี
และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บุคคลถูกจับกุมควบคุมตัวโดยพลการ
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยการแกล้งฟ้องเป็นคดีอาญา นอกจากนั้นถ้าไม่มี
การกลั่นกรองคดี อาจทำาให้คดีขึ้นสู่ศาลโดยไม่จำาเป็น อันส่งผลกระทบ
ต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้
ตามกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้แบ่ง
การไต่สวนมูลฟ้องเป็นสองกรณีคือ กรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ หรือผู้เสียหาย
ฟ้องคดี ศาลจะมีคำาสั่งให้ทำาการไต่สวนมูลฟ้องทุกกรณี ในกรณีที่อัยการ
เป็นโจทก์ฟ้อง ศาลจะสั่งให้มีการไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากการ
ฟ้องโดยอัยการจะต้องมีการพิจารณาพยานหลักฐานโดยพนักงานอัยการ
จนพอเชื่อได้ว่าจำาเลยได้กระทำาความผิดตามฟ้อง
คำาที่เกี่ยวข้อง PRIVATE PROSECUTION, PUBLIC
PROSECUTOR, ATTORNEY-GENERAL, CRIMINAL PROCEDURE
LAW
PRE-TRIAL DETENTION การคุมขังก่อนการพิจารณาคดี
การจำากัดเสรีภาพของผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยให้อยู่ในการควบคุม
ของเจ้าพนักงานสอบสวนก่อนที่จะมีการนำาตัวผู้ต้องหามาไต่สวนดำาเนินคดี
ในศาลการคุมขังก่อนการพิจารณาจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพิจารณา
ที่บุคคลถูกควบคุมตัวโดยฝ่ายบริหาร
175