Page 180 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 180

และสลายการชุมนุมได้  แต่วิธีการสลายการชุมนุมนั้นจะต้องสอดคล้องกับ
            หลักการตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน เช่น หลักความได้สัดส่วน และมาตรฐาน
            สากล เช่น ประมวลแนวปฏิบัติสำาหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code
            of Conduct for Law Enforcement Officials) และกฎการใช้กำาลังในการ
            ปะทะ (Rules of Engagement)



                PENAL CODE /
                CRIMINAL CODE                ประมวลกฎหมายอาญา

                  กฎหมายอาญาที่มีการจัดทำาขึ้นโดยมีการรวบรวมหลักการทางกฎหมาย
            วิธีการปรับใช้ และลักษณะความผิด แล้วแยกเป็นหมวดหมู่ที่มีความเชื่อมโยง
            และสัมพันธ์กัน
                  ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยปัจจุบันได้มีการประกาศใช้
            เมื่อ พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) โดยการแก้ไขปรับปรุงจากกฎหมายลักษณะ
            อาญา  ร.ศ.  127  (พ.ศ.  2452  (ค.ศ.  1809))  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสามภาค
            คือ

                  ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักกฎหมายที่สามารถ
            นำามาปรับใช้กับกฎหมายอาญาทั่วไป เช่น การกระทำาที่เป็นความรับผิดทางอาญา
            หลักไม่มีกฎหมายไม่มีความผิด หลักไม่ใช้กฎหมายย้อนหลัง ประเภทของโทษ
            ทางอาญา เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ และการลดโทษ เป็นต้น

                  ภาค 2 ความผิด เป็นการรวบรวมบทบัญญัติความผิดอาญาที่สำาคัญ
            หรือเป็นความผิดที่เกิดขึ้นเป็นประจำาในสังคม เช่น ความผิดฐานฆ่า ทำาร้าย
            ร่างกาย ลักทรัพย์ ปล้น ฉ้อโกง ปลอมแปลงเอกสาร ความผิดเกี่ยวกับเพศ
            เป็นต้น
                  ภาค 3 ลหุโทษ  เป็นการบัญญัติความผิดทางอาญาซึ่งมีลักษณะ
            เป็นความผิดเล็กน้อยไม่เป็นอันตรายต่อสังคม  เช่น  การทะเลาะอื้ออึงในที่
            สาธารณะ  การพกพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุอันควร  อนึ่ง  ความผิด
            ลหุโทษ คือความผิดที่ไม่ต้องมีเจตนาในการทำาผิดและระวางโทษจำาคุกไม่เกิน
            หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ



                                                                        169
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185