Page 178 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 178
ดังกล่าวมักจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
การอภัยโทษเป็นการให้โอกาสผู้กระทำาผิดที่ได้รับโทษมาเป็นระยะ
เวลาหนึ่งและได้สำานึกความผิดของตนที่จะกลับตนเป็นคนดี ได้กลับคืนสู่สังคม
เพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัวและญาติมิตรอย่างเป็นปกติสุขและประกอบสัมมา
อาชีพอย่างสุจริตในภายหลัง
สำาหรับประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำานาจในการ
พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษจำาคุกให้ได้รับการปล่อยตัว ซึ่งมีสองวิธี คือ
การพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลแก่ผู้ต้องโทษซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา
ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณขึ้นมา และการพระราชทานอภัยโทษ
เป็นการทั่วไป ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำาเนินการเสนอให้มีการพระราชทานอภัยโทษ
โดยรัฐบาลจะใช้หลักการพิจารณาตัวผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคลประกอบกับ
นโยบายทางอาญาของรัฐ
PEACEFUL ASSEMBLY, เสรีภาพในการชุมนุม
FREEDOM OF โดยสงบ
สิทธิของบุคคลในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง หรือเรียกร้อง
สิทธิประโยชน์โดยร่วมกันกับบุคคลอื่น การชุมนุมนั้นต้องมีความตั้งใจ (Intention)
ที่จะเข้าร่วมกันของบุคคลหลายคนเป็นการชั่วคราว (Temporary Gathering
of Several Persons) และมีวัตถุประสงค์อันเฉพาะ (Specific Purpose)
เพื่อแสดงออกทางการเมือง เช่น การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย การชุมนุม
ของสมาชิกสหภาพแรงงานเรียกร้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำา การชุมนุมคัดค้าน
นโยบายรัฐบาล ซึ่งต่างจากการพบปะพูดคุยทั่วไปของบุคคล หรือ
การเข้าร่วมพิธีกรรมทางสังคม
สิทธินี้มีความสำาคัญในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของสังคมเสรี
ประชาธิปไตย จัดอยู่ในสิทธิทางการเมืองรัฐจักต้องคุ้มครองสิทธิในการชุมนุม
โดยสันติ โดยครอบคลุมถึงบุคคลที่ตระเตรียมการชุมนุม จัดการ หรือ
ดำาเนินการชุมนุม และบุคคลที่เข้าร่วมชุมนุม
สิทธินี้ได้รับการรับรองโดยกติการะหว่างประเทศ ข้อ 21 และตราสาร
สิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคทุกภูมิภาค แต่เฉพาะ “การชุมนุมโดยสันติ”
167