Page 187 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 187

บุคคลที่ถูกคุมขังตัวก่อนการพิจารณายังไม่ใช่ผู้กระทำาผิด ดังนั้นจึงปฏิบัติ
            ต่อบุคคลที่ถูกควบคุมตัวเสมือนนักโทษมิได้  และการคุมขังจะต้องแยก
            จากนักโทษที่ถูกพิพากษาความผิดแล้ว  ปกติในการคุมขังก่อนการพิจารณา
            ผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวในห้องขังของเจ้าพนักงานตำารวจ  ซึ่งอาจเป็น
            สถานีตำารวจ หรือศูนย์ควบคุมตัวก่อนการพิจารณาที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ
            วัตถุประสงค์ของการคุมขังบุคคลในขั้นตอนนี้มีขึ้นเพื่อการสอบสวนผู้กระทำาผิด
            และเพื่อทำาให้มั่นใจว่าในการฟ้องจะมีตัวจำาเลยปรากฏต่อศาล

                  การคุมขังระหว่างรอการพิจารณามีขึ้นเนื่องจากผู้ต้องหาว่ากระทำา
            ความผิดอาญาไม่สามารถหาหลักประกันเพื่อประกันตัวในการปล่อยตัวชั่วคราว
            หรือเป็นผู้ที่ศาลเห็นว่าไม่สมควรให้ประกันตัว (ดู RELEASE ON BAIL)

                  ระยะเวลาในการคุมขังจะต้องให้สั้นที่สุดซึ่งมักกำาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
            หรือกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นเพื่อป้องกันฝ่ายบริหารควบคุม /
            คุมขังบุคคลโดยมิชอบ  หรือโดยไม่มีเหตุอันควร  กฎหมายจึงมักกำาหนด
            ให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเหตุผลของฝ่ายบริหารในการขยายระยะเวลา
            การคุมขังตัวบุคคล
                  ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยกำาหนดให้เจ้าพนักงาน
            สอบสวนมีอำานาจคุมขังผู้ต้องหาไว้เพื่อการสอบสวนคดีได้ไม่เกินกว่าสี่สิบแปด
            ชั่วโมง นับแต่เวลาที่มาถึงสถานีตำารวจ ในกรณีที่มีเหตุจำาเป็นเพื่อทำาการสอบสวน
            หรือเหตุจำาเป็นอย่างอื่น  จะยืดระยะเวลาได้ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง  (เท่าที่
            จำาเป็น) แต่รวมกันแล้วต้องไม่ให้เกินสามวัน

                  ถ้ามีความจำาเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าสามวัน เพื่อให้การสอบสวน
            เสร็จสิ้น  พนักงานสอบสวนหรืออัยการ  ต้องยื่นคำาร้องขอฝากขังต่อศาล
            ศาลอาจเรียกพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนมาชี้แจงเหตุจำาเป็น
            หรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้  โดยใช้อัตรา
            โทษคดีที่ถูกกล่าวหาเป็นเกณฑ์กำาหนดระยะเวลาคุมขัง ดังนี้

                  • ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำาคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน  ศาลมี
                    อำานาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำาหนดไม่เกินเจ็ดวัน
                  • ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำาคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือน
                    แต่ไม่ถึงสิบปี  ศาลมีอำานาจสั่งขังหลายครั้งติด  ๆ  กันได้

        176
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192