Page 177 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 177
ORGANISED CRIME อาชญากรรมที่มีการจัดตั้ง
กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปที่มีลักษณะเป็นการจัดตั้ง
และมีการดำาเนินการอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อกระทำาความผิดอาญาร้ายแรง
อาชญากรรมประเภทนี้มีการดำาเนินงานที่เป็นระบบและมีการ
ประสานงานตลอดจนแบ่งหน้าที่กันทำาระหว่างบุคคลผู้ลงมือกระทำา
ความผิดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปฏิบัติการระดับล่าง ดังนั้นการสืบสาวความผิด
ให้ถึงตัวผู้บงการที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงจึงมีความยากลำาบาก
อาชญากรรมที่มีการจัดตั้งจะไม่มีเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
ทางการเมืองในการดำาเนินงาน มักใช้อิทธิพลทางการเงิน ทางการเมือง
หรือใช้ความรุนแรงข่มขู่ เพื่อให้การดำาเนินงานบรรลุผล รวมทั้งการติดสินบน
เจ้าหน้าที่ เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดทางอาญา
อาชญากรรมที่มีการจัดตั้งเป็นภัยต่อสังคมระหว่างประเทศ ดังนั้น
ใน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) สหประชาชาติได้จัดทำาอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรม
ข้ามชาติที่มีการจัดตั้ง (United Nations Convention against Transnational
Organised Crime หรือ CTOC) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีความร่วมมือ
ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ เช่น การกำาหนดลักษณะ
ความผิดในกฎหมายอาญา การให้ข้อมูลข่าวสาร การสอบสวนสืบสวน การยึดทรัพย์
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน รวมถึงช่วยเหลือทางด้านเทคนิค อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ
ใช้ใน ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเจรจาและรับรอง
ข้อบทของสนธิสัญญา (ดู SIGNATURE SUBJECT TO RATIFICATION)
แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน ดังนั้นประเทศไทยจึงยังไม่ผูกพันอนุสัญญาฉบับนี้
(ข้อมูลจนถึงเดือนตุลาคม 2555)
PARDON, THE RIGHT TO สิทธิที่จะได้รับการอภัยโทษ
สิทธิของนักโทษที่จะยื่นเรื่องขอให้ประมุขของรัฐยกโทษให้สำาหรับ
การกระทำาความผิดของตนเป็นแนวปฏิบัติของประเทศต่าง ๆ ที่กำาหนด
ให้การอภัยโทษเป็นอำานาจของประมุขของรัฐ เช่น พระมหากษัตริย์ สุลต่าน
หรือประธานาธิบดี ประกาศยกโทษแก่บุคคลที่ได้รับโทษทางอาญา อำานาจ
166