Page 175 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 175
แต่เป็นสังคมที่มีสภาพเป็นทรราชย์ หรือที่เขาเรียกว่า ทรราชย์โดยคนส่วนใหญ่
(Tyrant of the Majority) มิลล์เห็นว่ารัฐบาลสามารถแทรกแซงเสรีภาพปัจเจกชนได้
ก็ต่อเมื่อการกระทำานั้นเป็นการเพิ่มพูนประโยชน์สุขของสังคม เช่น การแทรกแซง
เสรีภาพเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัย หรือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำา ไม่เสมอภาค
และเห็นว่าปัจเจกชนมีเสรีภาพทำาสิ่งใดได้ตราบเท่าที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อน
ให้สังคม เสรีภาพของปัจเจกชนจึงแยกไม่ออกจากเสรีภาพของสังคม ดังนั้น
หลักอรรถประโยชน์ (Principle of Utility) จึงต่างจากการกระทำาที่เอาแต่ได้
ของบุคคล
คำาที่เกี่ยวข้อง BENTHAM, JEREMY; LOCKE, JOHN
OPEN TRIAL / PUBLIC TRIAL การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย
รูปแบบ หรือวิธีการพิจารณาคดีในศาลที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมฟัง
การไต่สวนสืบพยานในศาล เพื่อเป็นสักขีพยานในการพิสูจน์ความผิดของจำาเลย
ในคดีอาญา ซึ่งจำาเลยมีโอกาสที่จะเผชิญหน้ากับพยานโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำาเลย
กระทำาผิด ในการพิสูจน์ความจริงในคดี อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอำานวย
ความยุติธรรม เว้นแต่มีความจำาเป็นในการคุ้มครองพยาน เด็ก เยาวชน
ชื่อเสียง เกียรติยศของผู้เสียหายหรือเพื่อรักษาความลับหรือความมั่นคง
ของรัฐ (ดู TRIAL IN CAMERA)
ในคดีอาญาถือเป็นหลักการว่ารัฐจะต้องให้การรับรองสิทธิของจำาเลย
ที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย เพื่อทำาให้คดีนั้นดำาเนินไปด้วย
ความเป็นธรรมและถูกต้อง และเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดการเบี่ยงเบน
ความชอบธรรมโดยอคติ ตลอดจนพฤติกรรมที่ไม่ชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี
รวมทั้งลดปัญหาเรื่องคำาวินิจฉัยที่อาจเกิดจากอคตินั้น
ความสำาคัญของสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผยสามารถ
พิจารณาได้สองด้าน คือ ด้านแรก เป็นการคุ้มครองสิทธิของจำาเลยในคดีอาญา
ซึ่งการพิจารณาโดยเปิดเผยในคดีอาญามุ่งคุ้มครองจำาเลยในการพิสูจน์
ความบริสุทธิ์ของตนเป็นหลักประกันว่าจำาเลยจะไม่ถูกข่มขู่ กลั่นแกล้ง
หรือถูกพิจารณาคดีตามอำาเภอใจ ทำาให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้
ยังเป็นการป้องกันพยานเบิกความเท็จ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นการคุ้มครอง
164