Page 176 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 176
สาธารณชน เพื่อป้องกันไม่ให้ตุลาการใช้อำานาจโดยไม่มีความรับผิดชอบ
อันจะส่งผลร้ายต่อสังคมโดยรวม เนื่องจากการดำาเนินคดีอาญาในศาลไม่ใช่เรื่อง
ที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิทธิหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคลของจำาเลยคนเดียว
แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งหมดที่อยู่ร่วมกัน ในสังคมเป็นเสมือน
สิทธิของสาธารณชนที่มีขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสาธารณชนด้วย
โดยประชาชนมีสิทธิที่จะตรวจสอบการดำาเนินงานของรัฐในกระบวนการ
ยุติธรรม
เป็นหลักกฎหมายทั่วไปว่าบุคคลที่ถูกฟ้องคดีอาญาจะต้องได้รับ
การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หลักการนี้ได้รับการรับรองไว้ในข้อ 10
ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และข้อ 14 ของกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง นอกจากนั้น นานา
อารยประเทศมักจะประกันสิทธินี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ในมาตรา 6 ของ
“บทบัญญัติสิทธิประชาชนอเมริกา” (ดู AMERICAN BILL OF RIGHTS)
ที่บัญญัติว่า “ในการดำาเนินคดีอาญาทั้งปวงจำาเลยพึงมีสิทธิที่จะได้รับ
การพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย และจักมีสิทธิเผชิญหน้ากับพยานที่ให้การ
ในทางยืนยันความผิดของตน”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007)
มาตรา 40 ได้รับรองสิทธิไว้ว่า
“บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้...... (2) สิทธิพื้นฐาน
ในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง
การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสาร
อย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งและพยานหลักฐานของตน
การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษา
หรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะและการได้รับทราบเหตุผลประกอบ
คำาวินิจฉัย คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง”
คำาตรงกันข้ามกับคำานี้คือ การพิจารณาเป็นการลับ (ดู TRIAL IN
CAMERA)
165