Page 105 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 105

อนึ่ง  ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
            การเมืองข้อ 11 กำาหนดห้ามจำาคุกบุคคลเนื่องจากไม่ชำาระหนี้ทางแพ่ง

                  ในความผิดบางอย่างที่ไม่ร้ายแรง เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอาจกำาหนด
            ค่าปรับได้  เช่น  การปรับตามกฎจราจร  ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับผังเมือง
            หรือความผิดเกี่ยวกับการอนุญาตต่าง ๆ เป็นต้น
                  2. ค่าปรับ เงินที่จำาเลยชำาระตามคำาพิพากษาของศาล หรือตามคำาสั่ง
                    ของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองที่มีอำานาจปรับตามกฎหมาย

                  เงินค่าปรับจะตกเป็นของแผ่นดินซึ่งต่างจากค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับ
            ในคดีแพ่งที่จำาเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ยกเว้นคดีละเมิดลิขสิทธิ์  ผู้เสียหาย
            ได้ค่าปรับไปครึ่งหนึ่ง เป็นเพราะว่าการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นเรื่องทางแพ่ง

                  คำาที่เกี่ยวข้อง PENALTY, COMPENSATION, RESTITUTION


                                                คุณสมบัติ
                 FIT AND PROPER         และความประพฤติที่เหมาะสม

                  คำาที่ใช้เรียกเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าดำารงตำาแหน่ง
            ต่าง ๆ เพื่อให้ได้บุคคลที่เหมาะสมทั้งในด้านคุณวุฒิ ความสามารถ และความ
            ประพฤติ ในการปฏิบัติงานตามตำาแหน่งนั้นให้เกิดประสิทธิภาพ

                  เกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติและความประพฤติ มักใช้ในการสรรหา
            ตำาแหน่ง เจ้าหน้าที่ในการบริหารภาครัฐ หรือการเข้าสู่ตำาแหน่งของผู้ดำารง
            ตำาแหน่งทางการเมือง องค์กรอิสระ รวมถึงการพิจารณาใบอนุญาตวิชาชีพ
            ที่ควบคุมโดยรัฐ  ตลอดจนผู้ที่ได้รับการโอนอำานาจจากรัฐในการให้บริการ
            สาธารณะ เช่น คุณสมบัติของผู้รับสัมปทาน เป็นต้น คำานี้ยังใช้ในภาคธุรกิจ
            เอกชนในการพิจารณาการดำารงตำาแหน่งที่สำาคัญ ๆ เช่น กรรมการบริหาร
            บริษัท เป็นต้น

                  แต่ละองค์กรจะกำาหนดเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาคุณสมบัติและความประพฤติ
            ให้เหมาะสมกับตำาแหน่งนั้น  ๆ  เช่น  คุณสมบัติของผู้ที่จะดำารงตำาแหน่ง
            กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) มาตรา 6 ดังนี้

         94
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110