Page 91 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 91

๗๖


                   ของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ

                   มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                                             ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของผู้ตายจึงเป็นข้อมูลที่เกี่ยวด้วย

                   สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

                                             ประเด็นที่สอง การน่าศพผู้ตายด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดงโดยระบุ
                   รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล รวมทั้งประวัติส่วนตัวของบุคคลนั้นตามกรณีศึกษาเป็นการ

                   แทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ตายนั้นหรือไม่
                                           เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของผู้ตายด้วยโรคเอดส์นั้นเป็นข้อมูลที่

                   เกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิในชีวิตและร่างกายซึ่งจะต้อง
                   ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดหน้าที่หรือความผูกพันต่อบุคคลอื่นที่จะต้องเคารพต่อสิทธิ

                   ดังกล่าวโดยไม่กระท่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยมิได้รับความยินยอมของบุคคลนั้นโดยชัดแจ้งแต่

                   อย่างใด โดยนัยดังกล่าว การด่าเนินการดังกล่าวตามกรณีศึกษาจึงเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่
                   ส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ตายนั้น

                                           ประเด็นที่สาม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมไปถึงบุคคล

                   ผู้เสียชีวิตไปแล้วหรือไม่
                                           สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับสิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นสิทธิ

                   ที่ติดตัวปัจเจกบุคคลมาตั้งแต่เกิด เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคลที่มีอยู่ในสภาวะธรรมชาติ และเป็นสิทธิ

                   ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่จ่าเป็นอย่างยิ่งต่อการด่ารงอยู่ของมนุษย์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แสดงให้เห็นว่า
                   มนุษย์มีอิสระที่จะก่าหนดตนเองได้ตามเจตจ่านงที่ตนประสงค์ และไม่อาจจะถูกพรากไปจากบุคคลได้

                   บุคคลแต่ละคนจึงต้องเคารพในขอบเขตปริมณฑลส่วนบุคคลของผู้อื่น ด้วยเหตุนี้สิทธิในชีวิตและร่างกาย
                   จึงเป็นรากฐานส่าคัญของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”

                                           นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้เคยวินิจฉัย
                                                  ๘๖
                   ประเด็นดังกล่าวไว้ในคดี Mephisto   ว่า “หลักการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้ละเมิด
                   ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันถือว่าเป็นพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพทั้งปวงนั้น กรณีย่อมเป็นการ

                   ไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากบุคคลนั้นในขณะที่เขามีชีวิตอยู่เขาได้รับ
                   ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา แต่เมื่อบุคคลนั้นตายไปแล้วเขากลับถูกลดศักดิ์ศรีหรือ

                   ถูกท าให้ได้รับความเสื่อมเสียภายหลังจากความตายของบุคคลนั้น  ดังนั้น ความผูกพันที่จะต้อง

                   ให้ความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ผูกพันอ านาจรัฐตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑ วรรคหนึ่ง
                   ของรัฐธรรมนูญนั้น ความผูกพันดังกล่าวของรัฐต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นมิได้สิ้นสุดลงพร้อมกับ

                   ความตายของบุคคลนั้นแต่อย่างใด”





                          ๘๖
                             BVerfGE 30,173 (194)
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96