Page 93 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 93

๗๘


                                         โดยนัยดังกล่าว การท่าแท้งเด็กในครรภ์มารดาที่มิได้เป็นไปตามเงื่อนไข

                   ของกฎหมาย หรือการที่รัฐมิได้เข้าไปปกป้องต่อชีวิตของเด็กในครรภ์มารดาดังกล่าว กรณีย่อมเป็นการ
                   ขัดกับมาตรา ๑   (ศักดิ์ความเป็นมนุษย์)   ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
                                                            ๘๗
                   ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี  ได้เคยวินิจฉัยว่ากฎหมายอาญาที่อนุญาตให้ท่าแท้ง

                   ได้เป็นโมฆะ โดยได้ให้เหตุผลว่า ชีวิตที่ได้รับการพัฒนาอยู่ในครรภ์มารดานั้นถือว่าเป็นชีวิตอีกชีวิตหนึ่ง
                   ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามมาตรา ๒ (๒) “บุคคลมีสิทธิในชีวิตและร่างกาย”

                   และตามมาตรา ๑   วรรคหนึ่ง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นไม่อาจถูกล่วงละเมิดได้ ดังนั้น
                   จึงเป็นภาระหน้าที่ของรัฐที่จะต้องให้เคารพและให้ความคุ้มครอง โดยหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองของ

                   รัฐนั้นมิได้หมายความเฉพาะการห้ามแทรกแซงโดยตรงของรัฐต่อชีวิตที่เติบโตในครรภ์มารดาเท่านั้น
                   หากแต่รัฐยังจ่าเป็นต้องให้ความคุ้มครองและปกป้องชีวิตดังกล่าวด้วย


                                 ๔.๒.๓ กรณีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเวชระเบียน

                                        (๑) ข้อเท็จจริง

                                             บิดาของบุตรที่เสียชีวิตได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับเวชระเบียนของบุตรนั้น
                   จากโรงพยาบาลที่บุตรนั้นรับการรักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต ตลอดจนรายงานการรักษาพยาบาลของ

                   แพทย์และพยาบาล เอกสารสรุปประวัติการรักษา และใบแจ้งสาเหตุการตาย รวมทั้งเอกสารอื่นๆ

                   ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด หากแต่โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าเป็นหลักฐาน
                   ข้อมูลทางการแพทย์

                                         (๒) ประเด็นปัญหาทางกฎหมาย

                                             ประเด็นที่หนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุคคลหนึ่งมีลักษณะ
                   เป็นข้อมูลส่วนบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือไม่

                                             ประเด็นที่สอง การที่บิดาของบุตรผู้ตายขอข้อมูลเวชระเบียนของบุตร
                   ผู้ตาย ตลอดจนเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลบุตรของตนที่เสียชีวิตนั้น เพื่อน่าไปใช้

                   ประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายตามกรณีศึกษา เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวอันเป็นการ
                   ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตรของตนหรือไม่

                                         (๓) แนวทางการพิจารณา

                                             ประเด็นที่หนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุคคลหนึ่งมีลักษณะ
                   เป็นข้อมูลส่วนบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือไม่

                                             ในบริบทของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ ข้อมูลเกี่ยวกับการ

                   รักษาพยาบาลของบุคคลหนึ่งย่อมเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลนั้น ข้อมูลดังกล่าวจึงเกี่ยวด้วยสิทธิใน
                   ความเป็นอยู่ส่วนตัวประเภทหนึ่ง ในลักษณะที่เป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามนัยแห่งสิทธิในความ

                   เป็นอยู่ส่วนตัวที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้โดยชัดแจ้งในข้อ ๑๒ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ


                          ๘๗
                             BVerfGE 39, 1.
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98