Page 90 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 90

๗๕


                                 ๔.๒.๒ กรณีการน าศพของผู้ป่วยโรคเอดส์มาจัดแสดง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ

                   ผู้ป่วยนั้น
                                        (๑) ข้อเท็จจริง

                                             มูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์และองค์กรเครือข่ายได้ยื่นเรื่องต่อคณะ

                   กรรมการิสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อขอให้ตรวจสอบและด่าเนินการยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีการ
                   น่าศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดง และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม โดยผู้จัดงาน

                   ดังกล่าวอ้างว่าเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้บุคคลทั่วไปเกรงกลัวต่อโรคเอดส์ ทั้งนี้ ผู้จัดงานนั้นได้ระบุชื่อและ
                   นามสกุลของผู้ตาย รวมทั้งประวัติของผู้ตายนั้นว่าประกอบอาชีพอะไรหรือใช้ชีวิตแบบใดจึงติดเชื้อ HIV

                   เช่น ขายบริการ หรือใช้ยาเสพติด เป็นต้น แม้ว่ากรณีดังกล่าวผู้ตายได้ท่าหนังสือแสดงความยินยอมให้น่า
                   ศพไปใช้เพื่อการศึกษาได้ก็ตาม

                                         (๒) ประเด็นปัญหาทางกฎหมาย

                                           ประเด็นที่หนึ่ง ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับผู้ตายนั้นมีลักษณะเป็นข้อมูลอัน
                   เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือไม่

                                           ประเด็นที่สอง การน่าศพผู้ตายด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดงโดยระบุ

                   รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของบุคคลนั้นตามกรณีศึกษาเป็นการแทรกแซงสิทธิ
                   ในความเป็นส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ตายนั้นหรือไม่

                                           ประเด็นที่สาม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมไปถึงบุคคล

                   ผู้เสียชีวิตไปแล้วหรือไม่
                                        (๓) แนวทางการพิจารณา

                                           ประเด็นที่หนึ่ง ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับผู้ตายนั้นมีลักษณะเป็นข้อมูลอัน
                   เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือไม่

                                             ในบริบทของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ  ข้อมูลเกี่ยวกับ

                   ประวัติส่วนตัวของบุคคลหนึ่งย่อมเป็นข้อมูลที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล ส่วน
                   บุคคลและสิทธิในชีวิตและร่างกาย ในลักษณะที่เป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามนัยแห่งสิทธิในความ

                   เป็นอยู่ส่วนตัวที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้โดยชัดแจ้งในข้อ ๑๒ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
                   มนุษยชน และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ

                   ขั้นพื้นฐาน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อมูลดังกล่าวย่อมเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่

                   ส่วนตัวในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตายนั้นนั่นเอง
                                             ในบริบทของกฎหมายของประเทศไทย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของ

                   บุคคลย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา ๔

                   และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วง
                   ละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้ โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมาย
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95