Page 94 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 94
๗๙
มนุษยชน และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐาน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อมูลดังกล่าวย่อมเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่
ส่วนตัวในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุตรที่เสียชีวิตนั้นนั่นเอง
ในบริบทของกฎหมายของประเทศไทย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของ
บุคคลย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติ มาตรา ๔
และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วง
ละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้ โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมาย
ของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่าข้อมูล
เวชระเบียนผู้ป่วยเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ป่วยหรือเป็นของโรงพยาบาล ต่อประเด็นปัญหานี้ บุคลากร
ทางการแพทย์ระดับสูงหลายท่าน ได้ออกมาให้ความเห็นว่า “ข้อมูลเวชระเบียนเป็นบันทึกของแพทย์
เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วย มีจุดประสงค์ส าหรับแพทย์ใช้เองและเป็นสมบัติส่วนตัวของแพทย์ผู้นั้น
แต่ถ้าผู้ป่วยร้องขอ แพทย์ควรให้บทสรุปซึ่งรวมประวัติผลการตรวจร่างกาย ผลทางห้องปฏิบัติการ
การด าเนินโรคและยาที่ให้ เพื่อให้แพทย์ที่จะดูแลผู้ป่วยต่อไปรับทราบ การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ
การรักษาเฉพาะผู้ป่วยเป็นไปตามประกาศสิทธิผู้ป่วยซึ่งไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นข้อตกลงของสภาวิชาชีพ
ซึ่งมีแพทยสภาเป็นแกนน าเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก”
แต่อย่างไรก็ตาม ตามความเห็นของนักวิชาการกฎหมาย สถานะของข้อมูล
เวชระเบียนนั้น มีสถานะเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเวชระเบียนนั้น
ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว ศาลปกครองกลางได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดีหนึ่งซึ่ง
ผู้ป่วยได้ขอตรวจและคัดส่าเนาเวชระเบียนจากโรงพยาบาลเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดรักษาและ
รายชื่อของแพทย์ผู้ท่าการรักษา แต่โรงพยาบาลมีหนังสือแจ้งว่าไม่สามารถด่าเนินการให้ได้เนื่องจาก
เอกสารสูญหายไปโดยแจ้งความไว้เป็นหลักฐานแล้ว ผู้ป่วยจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางในประเด็น
การกระท่าของเจ้าหน้าที่ของรัฐท่าให้ผู้ป่วยไม่ได้รับรู้ข้อมูลในเวชระเบียนของผู้ป่วย อันถือเป็นการ
กระท่าละเมิดในทางปกครอง ซึ่งศาลปกครองกลางได้พิจารณาแล้วมีค่าวินิจฉัยว่า “โรงพยาบาลซึ่งเป็น
หน่วยงานของรัฐ นอกจากเอกสารเวชระเบียนจะเป็นเอกสารที่โรงพยาบาลจัดท าขึ้นและอยู่ใน
ความครอบครองหรือควบคุมดูแลเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการวินิจฉัย
และรักษาผู้ป่วยต่อไป หรือใช้เพื่อการศึกษาวิจัยแล้ว เวชระเบียนยังเป็นเอกสารที่ได้บันทึกข้อมูล
เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ป่วยเกี่ยวกับประวัติสุขภาพ จึงเป็นข้อมูลข่าวสารราชการในลักษณะ
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส าหรับผู้ป่วย และถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองและคุ้มครอง
ตามรัฐธรรมนูญ การที่โรงพยาบาลได้แจ้งความว่าเอกสารเวชระเบียนสูญหาย แต่ในทางคดีไม่ปรากฏ
๘๘
ค่าสัมภาษณ์ของเลขาธิการแพทยสภา, วารสาร Medical news, กันยายน ๒๕๔๘