Page 96 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 96
๘๑
๙๐
แทนบุตรที่เสียชีวิตไปแล้ว ในอันที่จะได้รับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุตรของตน เพื่อไปด่าเนินการเรียกร้อง
ค่าเสียหายที่เกี่ยวข้อง การด่าเนินการดังกล่าวย่อมได้รับการยกเว้น และไม่ถือเป็นการแทรกแซงสิทธิ
ในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุตรนั้นอันจะถือว่าการกระท่านั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตร
ที่เสียชีวิตไปนั้นแต่อย่างใด
(๔) สรุป
การที่โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยให้เหตุผล
ว่าเป็นหลักฐานข้อมูลทางการแพทย์ มิเพียงแต่จะเป็นการกระท่าที่ขัดต่อสิทธิในการขอตรวจดูข้อมูล
ส่วนบุคคลของบุตรนั้นตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการแล้ว การกระท่าดังกล่าว
ยังเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุตรที่เสียชีวิตนั้นและผู้มีสิทธิด่าเนินการแทนบุตรนั้น
อีกมิติหนึ่งด้วย อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตรที่เสียชีวิตนั้นและผู้มีสิทธิด่าเนินการแทนบุตร
นั้น
๔.๒.๔ กรณีการติดต่อหรือส่งข้อความเพื่อขายสินค้าหรือบริการแก่บุคคล
อันก่อให้เกิดความเดือดร้อนร าคาญ
(๑) ข้อเท็จจริง
ในปัจจุบันปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบธุรกิจจ่านวนไม่น้อย โดยเฉพาะ
ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงได้ใช้วิธีการต่างๆ ในการติดต่อเพื่อขายสินค้าหรือบริการ
เช่น การโทรศัพท์ การส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การส่งข้อความทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
โดยผู้ที่ได้รับการติดต่อข้อมูลต่างๆ นั้น มิได้ให้ความยินยอมด้วย การกระท่าดังกล่าวก่อให้เกิด
ความเดือดร้อนร่าคาญต่อความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ที่ได้รับการติดต่อ
(๒) ประเด็นปัญหาทางกฎหมาย
ประเด็นที่หนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่อาศัยของบุคคลหนึ่ง
มีลักษณะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวหรือไม่
๙๐
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.
๒๕๔๐
ข้อ ๔ “ในกรณีเจ้าของข้อมูลถึงแก่กรรม และมิได้ท าพินัยกรรมก าหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้บุคคลดังต่อไปนี้มี
สิทธิด าเนินการแทนตามมาตรา ๒๔ ได้ตามล าดับก่อนหลัง ดังต่อไปนี้
(๑) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม
(๒) คู่สมรส
(๓) บิดาหรือมารดา
(๔) ผู้สืบสันดาน
(๕) พี่น้องร่วมบิดามารดา
(๖) คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ”