Page 89 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 89
๗๔
ประเด็นที่สอง การด่าเนินการของโรงพยาบาลตามกรณีศึกษานี้เป็นการ
แทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วยคนนั้นหรือไม่
เมื่อข้อมูลที่ว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคเอดส์เป็นข้อมูลที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความ
เป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดหน้าที่หรือ
ความผูกพันต่อบุคคลอืนที่จะต้องเคารพต่อสิทธิดังกล่าวโดยไม่กระท่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยมิได้
รับความยินยอมของผู้ป่วยนั้นโดยชัดแจ้งแต่อย่างใด โดยนัยดังกล่าว การด่าเนินการดังกล่าวของ
โรงพยาบาลตามกรณีศึกษาจึงเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ของผู้ป่วยนั้น
ประเด็นที่สาม การด่าเนินการดังกล่าวเป็นการด่าเนินการตามอ่านาจ
หน้าที่ตามกฎหมายโดยองค์กรของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
ดังกล่าว และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้น อันเข้าข้อยกเว้นของการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัว
โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่
การด่าเนินการดังกล่าวของโรงพยาบาลตามกรณีศึกษามิใช่การ
ด่าเนินการตามอ่านาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยองค์กรของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ มิใช่สิ่งจ่าเป็นเพื่อ
บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้นแต่อย่างใด
(๔) สรุป
การด่าเนินการของโรงพยาบาลตามกรณีศึกษาจึงเป็นการกระท่า อัน
เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วยนั้น นอกจากนี้ การกระท่าดังกล่าวยังเป็นการกระท่าที่ขัดต่อสิทธิ
๘๕
ของผู้ป่วยตามข้อ ๗ ของค่าประกาศรับรองสิทธิผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อตกลงของสภาวิชาชีพซึ่งมี แพทย
สภาเป็นแกนน่าเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก และเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้
ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอนามัยกับผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอันดี และเป็นที่ไว้วางใจซึ่ง
กันและกัน แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา คณะกรรมการควบคุมการ
ประกอบโรคศิลปะ ซึ่งก่าหนดว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบ
วิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตาม
กฎหมาย ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน”
๘๕ ค่าประกาศสิทธิของผู้ป่วยออกโดยแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา
คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะเพื่อถือปฏิบัติร่วมกันและเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก