Page 92 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 92
๗๗
(๔) สรุป
การด่าเนินการตามกรณีศึกษาดังกล่าว เมื่อครั้งที่ผู้ป่วยโรคเอดส์
ยังมีชีวิตอยู่ เขามีสิทธิในชีวิตและร่างกายและมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจาก
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด ซึ่งสิทธิต่างๆ ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของ “ศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์” ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ได้บัญญัติ
ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงมิได้สิ้นสุดลงพร้อมกับ
ความตายของบุคคลนั้นแต่อย่างใด ซึ่งการน่าศพผู้ป่วยเอดส์มาแสดงโดยไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม
พร้อมแสดงประวัติผู้ตายว่าประกอบอาชีพอะไร หรือใช้ชีวิตแบบใดจึงติดเชื้อ เช่น ขายบริการ
หรือใช้ยาเสพติด เป็นต้น แม้ว่ากรณีดังกล่าวผู้เสียชีวิตได้ท่าหนังสือแสดงความยินยอมให้น่าศพไปใช้
เพื่อการศึกษาได้และการน่าศพมาแสดงก็มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้ผู้คนเกรงกลัว
ต่อโรคเอดส์ก็ตาม แต่การกระท่าดังกล่าวย่อมจะมีผลเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และ
สิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้ตาย เนื่องจากเป็นการน่าร่างกายและรายละเอียดส่วนบุคคลมาเผยแพร่
ต่อสาธารณะ ดังนั้น หากจ่าเป็นที่จะต้องมีการน่าศพมาแสดงเพื่อจะให้เป็นอุทาหรณ์สอนใจให้
บุคคลอื่นๆ ระมัดระวังมิให้ติดเชื้อ HIV ก็อาจจะกระท่าโดยความระมัดระวังในการแสดงประวัติบุคคล
มิให้มีลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศของผู้นั้น เช่น จะต้องไม่มีการเปิดเผย
รายละเอียดส่วนตัวของบุคคล เช่น ชื่อ – สกุล ที่อยู่ อาชีพ ของผู้ตาย เป็นต้น
อนึ่ง นอกจากสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจะได้รับการรับรองและ
คุ้มครองแม้กระทั่งบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตายไปแล้วดังกล่าวข้างต้น กรณีเด็กในครรภ์มารดาซึ่งยังไม่มี
สภาพบุคคลก็ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ถึงแม้สภาพบุคคล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งจะเริ่มต้นเมื่อมีคลอด แต่เนื่องจาก “สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว”
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สิทธิในชีวิตและร่างกาย” ที่เป็นสิทธิติดตัวปัจเจกบุคคลมาตั้งแต่เกิด
เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคลที่มีอยู่ในสภาวะธรรมชาติ สิทธิในชีวิตและร่างกายจึงไม่อาจจะถูกพราก
ไปจากบุคคลได้ แต่ในทางตรงกันข้ามอาจท่าให้ได้รับหลักประกันมากขึ้นโดยบทบัญญัติกฎหมาย
สิทธิในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่จ่าเป็นอย่างยิ่งต่อการด่ารงอยู่ของมนุษย์
และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีอิสระที่จะก่าหนดตนเองได้ตามเจตจ่านงที่ตนประสงค์
จากการที่มนุษย์มีเจตจ่านงโดยอิสระในอันที่จะสร้างสภาพแวดล้อมของตนเองหรือพัฒนาบุคลิกภาพ
ของตนเองนี้เองที่ท่าให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการเคารพในสิทธิในชีวิต
และร่างกายของปัจเจกบุคคล บุคคลแต่ละคนจึงต้องเคารพในขอบเขตส่วนบุคคลของแต่ละคน
และด้วยเหตุนี้ สิทธิในชีวิตและร่างกายจึงเป็นรากฐานอันส่าคัญของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ซึ่งคุณค่า
อันมีลักษณะเฉพาะของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการท่าให้เป็นจริงของบุคคลใด
บุคคลหนึ่ง ดังนั้น กรณีจึงอาจเป็นการแทรกแซงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ แม้ว่าบุคคลนั้นจะยังไม่ถือ
ก่าเนิดหรือบุคคลนั้นได้ตายไปแล้วก็ตาม ดังนั้น ในกรณีนี้จังไม่อาจจะอาศัยหลักสิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง
มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้