Page 87 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 87

๗๒


                                 (๓) กรณีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเวชระเบียน

                                 (๔) กรณีการติดต่อหรือส่งข้อความเพื่อขายสินค้าหรือบริการแก่บุคคลอันก่อให้เกิด
                   ความเดือดร้อนร่าคาญ

                                 (๕) กรณีการเปิดภาพยนตร์หรือเพลงบนในรถโดยสารระหว่างจังหวัดอันเป็นการ

                   รบกวนผู้โดยสาร
                                 (๖) กรณีการปิดป้ายโฆษณาบนหน้าต่างรถโดยสารประจ่าทางหรือรถไฟฟ้าอันเป็นการ

                   บดบังทัศนียภาพภายนอก
                                 (๗) กรณีการถ่ายภาพของผู้อื่นโดยผู้ที่ถูกถ่ายภาพนั้นไม่ได้ให้ความยินยอมและน่าไป

                   พิมพ์เผยแพร่
                                 (๘) กรณีเรือนจ่าหรือห้องขังมีความเป็นอยู่อย่างแออัด ขาดสุขลักษณะที่ดี

                                 (๙) กรณีการตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมายของผู้ต้องขังในเรือนจ่า

                                 (๑๐) กรณีการติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในห้องขังของผู้ต้องขัง หรือสถานที่
                   สาธารณะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัย เช่น โรงภาพยนตร์

                                 (๑๑) กรณีเจ้าหน้าที่ต่ารวจน่าตัวผู้ต้องหาไปท่าแผนประกอบค่ารับสารภาพ หรือการที่

                   เจ้าหน้าที่ต่ารวจได้เผยแพร่ภาพถ่ายของผู้ต้องหาในคดีอาญาไปตามสื่อต่างๆ
                                 ในส่วนนี้ คณะผู้วิจัยจะได้ท่าการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในกรณีศึกษาแต่ละกรณีดังกล่าว

                   ข้างต้นว่าการกระท่าในแต่ละกรณีนั้นเป็นการกระท่าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิใน

                   ความเป็นส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร และน่าเสนอความเห็นประกอบประกอบ
                   ข้อพิจารณาและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                   แห่งชาติต่อการกระท่าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัว อันเป็น
                   วัตถุประสงค์หลักของงานศึกษาวิจัยนี้ ทั้งนี้ การวิเคราะห์และน่าเสนอความเห็นของคณะผู้วิจัยในแต่ละ

                   กรณีศึกษา คณะผู้วิจัยจะใช้หลักการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวตามหลักสากลเป็น

                   เกณฑ์ในการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาแห่งยุโรปว่า
                   ด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ดังนั้น การวิเคราะห์และน่าเสนอความเห็นต่อ

                   กรณีศึกษาในแต่ละกรณีจึงแบ่งหัวข้อออกเป็นสามประการ ได้แก่ ข้อเท็จจริง ประเด็นปัญหาทาง
                   กฎหมาย และแนวทางการพิจารณา ดังมีรายละเอียด ดังนี้
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92