Page 86 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 86
๗๑
๔.๑.๒ อ านาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๒
ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ่านาจหน้าที่ในการส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลัก
สิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบการกระท่า
หรือการละเลยการกระท่าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่าง
๘๓
ประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย เป็นส่าคัญ
ทั้งนี้ ค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ
เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
เมื่อสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์อัน
เกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจึงอยู่ในขอบเขตของ
นิยามค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” ดังกล่าวข้างต้น
โดยนัยดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิจึงมีอ่านาจหน้าที่ในการตรวจสอบการ
กระท่าหรือการด่าเนินมาตรการใดอันเป็นการแทรกแซงหรือรุกล้่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
๔.๒. กรณีศึกษาเกี่ยวกับการกระท าที่เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัว
คณะผู้วิจัยได้น่าปัญหาเกี่ยวกับการกระท่าของบุคคลต่างๆ และในลักษณะต่างๆ ที่มี
๘๔
การร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาใช้เป็นกรณีศึกษาในงานศึกษาวิจัยนี้ เพื่อ
น่าเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบและการพิจารณาของคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติต่อไป การกระท่าในลักษณะต่างๆ ที่น่ามาใช้เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ กรณีต่างๆ
ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการจัดให้ผู้ป่วยโรคเอดส์เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวส่าหรับผู้ป่วย
โรคเอดส์ โดยที่ผู้ป่วยนั้นมิได้แสดงความประสงค์ที่จะเข้ารับการอบรม
(๒) กรณีการน่าศพของผู้ป่วยโรคเอดส์มาจัดแสดงนิทรรศการ โดยระบุรายละเอียด
เกี่ยวกับผู้ป่วยนั้น
๘๓ มาตรา ๑๕ พ.ร.บ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
๘๔
ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกระท่าอันอาจก่อให้เกิดปัญหาการรุกล้่าหรือกระทบสิทธิในความเป็นส่วนตัว
ของบุคคล คณะผู้วิจัยได้สรุปจากผลการรับฟังความคิดเห็นร่วมกันระหว่างคณะผู้ศึกษาวิจัยและเจ้าหน้าที่ส่านักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ ห้องประชุมส่านักวิจัย ส่านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในวันที่
๙ มีนาคม ๒๕๕๕