Page 95 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 95

๘๐


                   ข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอื่นใดที่พอฟังได้ว่าเวชระเบียนได้สูญหายไปจากความครอบครองของ

                   โรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลปกปิดซ่อนเร้นไว้ โรงพยาบาลย่อมไม่อาจยกเอาความสูญหายของ
                   เวชระเบียนขึ้นกล่าวอ้างว่าเกิดจากบุคคลอื่นเพื่อบอกปัดความรับผิดของตนเองได้ จึงถือเป็นการละเลย
                                                           ๘๙
                   ต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายก าหนดให้ต้องปฏิบัติ...”

                                             นอกจากนี้ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการยังได้เคย
                   ท่าค่าวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาดังกล่าวในท่านองเดียวกันกับแนวค่าพิพากษาของศาลปกครอง

                   กลาง ได้แก่ ค่าวินิจฉัยที่ สค ๑๕๒/๒๕๕๒ วินิจฉัยไว้ สรุปความได้ว่าข้อมูลข่าวสารที่มีการร้องขอนั้น
                   เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุตรชายผู้ร้องขอ และเมื่อบุตรชายของผู้ร้องขอถึงแก่กรรมโดยมิได้

                   ท่าพินัยกรรมไว้ ผู้ร้องขอซึ่งเป็นบิดาได้ใช้สิทธิขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเวชระเบียนและประวัติการ
                   รักษาพยาบาลได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร

                   ของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารพิจารณาโดยค่านึงถึง

                   สิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ จึงวินิจฉัยให้เปิดเผย
                   ข้อมูลข่าวสารตามค่าขอ

                                             ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุตรที่เสียชีวิตไปนั้นจึงเป็น

                   ข้อมูลที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
                                           ประเด็นที่สอง การที่บิดาของบุตรที่เสียชีวิตขอข้อมูลเวชระเบียนของ

                   บุตร ตลอดจนเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลบุตรของตนที่เสียชีวิตนั้น เพื่อน่าไปใช้

                   ประกอบการเรียกร้องค่าเสียหายตามกรณีศึกษา เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวอันเป็นการ
                   ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตรของตนหรือไม่

                                             เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุตรที่เสียชีวิตไปตามกรณีศึกษา
                   เป็นข้อมูลที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของบุตรนั้น ซึ่งจะต้องได้รับ

                   การคุ้มครองตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดหน้าที่หรือความผูกพันของบุคคลอืนที่จะต้องไม่กระท่าการ

                   เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยมิได้รับความยินยอมของบุตรที่เสี่ยชีวิตไปซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลดังกล่าว
                   โดยชัดแจ้งแต่อย่างใด

                                             แม้ว่าโดยหลักแล้ว การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าของ
                   ข้อมูลนั้นจะเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตร

                   ที่เสียชีวิตไปนั้น และบุตรนั้นจะยังคงได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่แม้ว่าจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

                   แต่ข้อเท็จจริงตามกรณีศึกษา บิดาของบุตรที่เสียชีวิตไปเป็นผู้ขอข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
                   ของบุตรของตน ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนั้นและผู้มีอ่านาจตามกฎหมายในการด่าเนินการ







                          ๘๙  คดีปกครอง ระหว่าง น.ส.ศิริรัตน์ จั่นเพชร  ผู้ฟ้องคดี โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ถูกฟ้องคดี

                   อ้างอิงจาก http://news.thaipbs.or.th/content
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100