Page 85 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 85

บทที่ ๔



                              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการกระท า

                                 อันเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล



                                 ในส่วนนี้ คณะผู้วิจัยจะได้ท่าการศึกษาอ่านาจหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ของ
                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                   เกี่ยวกับการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ตามล่าดับ


                   ๔.๑ อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


                                 ๔.๑.๑ อ านาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

                                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
                   ของประเทศไทยที่ได้ก่อให้เกิดคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมาตรา ๒๐๐ แห่งรัฐธรรมนูญ

                   ฉบับดังกล่าวได้ก่าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ่านาจหน้าที่ในการตรวจสอบและ

                   รายงานการกระท่าหรือละเลยการกระท่า อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณี
                   ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อ

                   บุคคลหรือหน่วยงานที่กระท่าหรือละเลยการกระท่าดังกล่าวเพื่อให้ด่าเนินการแก้ไข  หากไม่มีการ
                   ด่าเนินการแก้ไข คณะกรรมการต้องรายงานต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาด่าเนินการต่อไป  นอกจาก

                   คณะกรรมการจะมีอ่านาจในการ ตรวจสอบและรายงานการกระท่าดังกล่าวแล้ว ยังมีอ่านาจหน้าที่ใน

                   การเสนอแนะนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ  หรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและ
                   คณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วย

                                         ต่อเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ประกาศใช้

                   บังคับก็ได้มีการก่าหนดอ่านาจเพิ่มเติมให้ให้อ่านาจมาตรา ๒๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                   พุทธศักราช ๒๕๕๐ ก่าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้มีอ่านาจฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม

                   แทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิด

                   สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นด้วยโดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
                   ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ

                   วิธีพิจารณาคดีปกครอง และที่กฎหมายบัญญัติตามล่าดับ
                                         ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน

                   ประการหนึ่ง สิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ตามมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญ
                   แห่งราชอาณาจักรไทยโดยนัยเช่นนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติย่อมมีอ่านาจหน้าที่ที่จะก่ากับ

                   ดูแลมิให้มีการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล

                                                                                                      ๗๐
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90