Page 84 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 84
๖๙
ในกรณีที่มีการกระท่าซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย
พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอน
การกระท่าเช่นว่านั้น รวมทั้งจะก่าหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
๓.๓.๓ ข้อจ ากัดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๖
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง
การกระท่าด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน
จะกระท่ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ่านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
๓.๓.๔ ข้อจ ากัดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับการอยู่หรือพักอาศัย
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๓
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน
บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถาน
โดยปกติสุข
การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการ
ตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระท่ามิได้ เว้นแต่มีค่าสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่น
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
จะเห็นได้ว่าแม้สิทธิในความเป็นส่วนตัวจะถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง
ที่ผู้ใช้อ่านาจปกครองไม่มีอ่านาจที่จะลบล้างและมิอาจจะก้าวล่วงได้ และบุคคลทุกคนย่อมสามารถ
กระท่าการใดๆ ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของบุคคลอื่น แต่ในบางกรณีรัฐมีความจ่าเป็นที่จะต้องเข้า
แทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ ซึ่งการกระท่าของรัฐดังกล่าว
จะต้องเป็นการกระท่าที่ได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้น และจะต้องเป็นการเข้าแทรกแซงโดยมีบทบัญญัติ
ของกฎหมายให้อ่านาจไว้อย่างชัดเจน จึงจะเข้าข้อยกเว้นของการแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวของ
บุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวตาม
ที่กล่าวมาแล้วในบทนี้