Page 51 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 51

๓๖


                                                                                                       ๕๗
                   หรือซึ่งการเก็บรวบรวม การน่าไปใช้ประโยชน์ หรือการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นการต้องห้าม
                                                                   ๕๘
                   สิทธิในการได้รับการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน  และสิทธิที่จะได้รับส่าเนาข้อมูลส่วนบุคคล
                              ๕๙
                   ที่เกี่ยวกับตน
                                         (๒) มิติทับซ้อนระหว่างการใช้สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลกับการใช้สิทธิ

                   ในชีวิตส่วนตัวของบุคคล
                                             ข้อมูลส่วนบุคคลตามนัยแห่งรัฐบัญญัติฯ  ลงวันที่  ๖  มกราคม  ๑๙๗๘

                   มีขอบเขตที่กว้างขวางมาก และครอบคลุมข้อมูลในหลายลักษณะซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับสิทธิในชีวิต
                   ส่วนตัวของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา  ๘  วรรคหนึ่ง  ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการ

                   คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน  และมาตรา  ๙  แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง  ดังนั้น การ
                   เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนในบางกรณีย่อมเป็นการใช้สิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลด้วยใน

                   ขณะเดียวกัน  ในกรณีเช่นนั้น  การที่องค์กรของรัฐหรือองค์กรเอกชนปฏิเสธมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ

                   ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งจัดเก็บไว้ในระบบข้อมูลสารสนเทศที่องค์กรนั้นจัดท่าขึ้นเข้าตรวจดู
                   ข้อมูลดังกล่าว จึงมิได้มีผลแต่เพียงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ ๖ มกราคม

                   ๑๙๗๘  แต่เพียงอย่างเดียวหากแต่ยังถือว่าเป็นการด่าเนินการที่เป็นการแทรกแซงหรือขัดต่อการใช้

                   สิทธิของบุคคลในชีวิตส่วนตัวที่เกี่ยวกับตนซึ่งได้รับการรับรองและคุ้มครองอีกด้วย  ดังที่ศาลแห่งยุโรป
                                                                                                       ๖๐
                   ด้านสิทธิมนุษยชนได้เคยวินิจฉัยไว้เมื่อวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๑๙๘๙  ในคดี  Gaskin c/ Royaume-Uni
                   ศาลได้ก่าหนดหน้าที่ขององค์กรของรัฐในการกระท่าการ  ) une obligation positive (เพื่อเคารพต่อสิทธิ

                   ในชีวิตส่วนตัวของบุคคล ในคดีนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษและเป็นเด็กก่าพร้าที่มารดาของตนน่าไป
                   ฝากไว้กับองค์กรเพื่อสังคมแห่งชุมชน Liverpool (La commune Liverpool) และองค์กรนี้ได้ให้ผู้ร้องไป

                   อยู่ในการเลี้ยงดูของผู้ปกครองหลายคนตามล่าดับ  (plusieurs parents nourriciers successifs) ผู้ร้องมี
                   ปัญหาด้านการศึกษาจนกระทั่งผู้ร้องบรรลุนิติภาวะ ผู้ร้องต้องการจะขอตรวจดูแฟ้มข้อมูลที่องค์กรเพื่อ

                   สังคมแห่งชุมชน Liverpool ได้จัดท่าขึ้นที่เกี่ยวกับตนและที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ

                   องค์กรของรัฐ อันเป็นสิทธิตามกฎหมาย ที่ปรึกษาเทศบาลแห่ง Liverpool กล่าวอ้างว่าผู้ร้องจะสามารถ
                   ขอตรวจดูข้อมูลดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูล  แพทย์  พยาบาล  ผู้ปกครองที่รับเลี้ยงดูและ

                   ต่ารวจได้ให้ความยินยอมแก่การนั้น  ทั้งนี้  ตามหนังสือเวียนฉบับหนึ่งของกระทรวงด้านสุขภาพ  (une
                   circulaire du ministère de la Santé)  ซึ่งออกโดยอาศัยอ่านาจตามกฎหมายผู้ร้องจึงสามารถตรวจดู

                   ข้อมูลจ่านวน ๖๕ แฟ้ม จากแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ร้องทั้งหมด  ๓๕๒  แฟ้ม  หากแต่ผู้ร้องยืนยันที่จะขอ

                   ตรวจดูข้อมูลที่เกี่ยวกับตนทั้งหมด ผู้ร้องจึงขอให้ศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนรับรองสิทธิของตนที่จะ


                          ๕๗  มาตรา ๔๐ รัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๑๙๗๘

                          ๕๘
                             มาตรา ๓๙-I-๔° รัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๑๙๗๘
                          ๕๙
                             มาตรา ๓๙-I วรรคสอง รัฐบัญญัติฯ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๑๙๗๘
                          ๖๐  Arrêt Gaskin c/Royaume-Uni du 7 juillet 1989, Volume n° 160 de la série A des publications de

                                                                                        e
                   la Cour; V. V. BERGER, Jurisprudence de la Cour européenne des droits de l’homme, 3  éd., n° 86, p. 241.
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56