Page 55 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 55
๔๐
(๔) การไขข่าวแพร่หลายในข้อความอันเป็นเท็จ (false light) เช่น การน่าภาพ
ของบุคคลไปประกอบข้อความที่ไม่ตรงกับความจริง เช่น น่าภาพของบุคคลไปประกอบกับยากระตุ้น
อารมณ์ทางเพศเพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจว่าบุคคลในภาพในผู้เสนอขาย (presenter) ของยาดังกล่าว (คดี
Herrenreiter, BGHZ 26, 349.)
(๕) การหาประโยชน์เชิงพาณิชย์จากสิทธิเกี่ยวกับบุคคล (appropriation of
personality) เช่น การน่าภาพของบุคคลไปใช้ประกอบการโฆษณา (แม้โฆษณานั้นจะไม่เสื่อมเสีย
แต่เป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลอยู่ที่อยู่ภาพ)
นอกจากนั้น ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนียังมีกฎหมายว่าด้วยการ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ Federal Data Protection Act ซึ่งมีสาระส่าคัญ ดังนี้
(๑) ขอบเขตการบังคับใช้ (section 1)
กฎหมายนี้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทั้งระดับสหพันธ์และระดับมลรัฐที่ใช้
อ่านาจตามกฎหมายสหพันธ์หรือเป็นหน่วยงานของศาล และให้ใช้บังคับแก่เอกชนซึ่งเก็บรวบรวม ใช้หรือ
ด่าเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าด้วยวิธีทางอิเล็คทรอนิคส์หรือไม่ก็ตาม
อนึ่ง ค่าว่า “ด่าเนินการ (process)” ได้มีบทนิยามไว้หมายถึง การเก็บรักษา
การแก้ไขปรับปรุง การยับยั้ง การลบ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยได้อธิบายด้วยว่า
หมายถึงการเปิดเผยต่อบุคคลที่สามหรือการส่งผ่านบุคคลที่สามหรือส่งให้บุคคลที่สามารถเรียกดูได้
(๒) การเก็บรวบรวม ใช้และการด่าเนินการที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ (section 4)
(ก) เป็นไปตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นหรือได้รับความยินยอมจาก
ผู้ทรงสิทธิในข้อมูล (the data subject) ซึ่งหมายถึงเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(ข) การเก็บรวบรวมโดยปราศจากความยินยอมให้กระท่าได้ในกรณี
ก. เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
ข. เป็นอ่านาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง
ค. การเก็บข้อมูลจากผู้ทรงสิทธิโดยตรงจะท่าให้ข้อมูลไม่ถูกต้องและ
ไม่ก่อความเสียหายแก่ผู้ทรงสิทธิ
(ค) เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลท่าการเก็บรวบรวมจะต้องแจ้ง
รายละเอียดต่อไปนี้ เว้นแต่ผู้ทรงสิทธิจะได้ทราบอยู่แล้ว
ก. ชื่อหรือสิ่งที่บอกให้รู้ว่าผู้ควบคุมข้อมูลเป็นใคร
ข. วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม การใช้ และการด่าเนินการ
ค. แหล่งที่มาของข้อมูลเฉพาะกรณีที่ผู้ทรงสิทธิไม่รู้ถึงการเปิดเผย
ข้อมูลนั้น