Page 52 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 52
๓๗
ได้รับการเคารพในชีวิตส่วนตัวและองค์กรของรัฐมีหน้าที่ที่จะต้องอนุญาตให้ตนเข้าตรวจดูแฟ้มข้อมูล
ทั้งหมดที่เกี่ยวกับตน ศาลแห่งยุโรปพิจารณาว่าเอกสารต่างๆ ที่ส่งไปเข้าแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับ
ชีวิตครอบครัวและชีวิตส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวจึงเกี่ยวข้องกับเนื้อหา
สาระแห่งสิทธิที่จะได้รับการเคารพในชีวิตส่วนตัวของผู้ร้อง โดยนัยดังกล่าวดังเช่นในคดีอื่น ศาลแห่ง
ยุโรปพยายามสร้างดุลยภาพที่เหมาะสมระหว่างประโยชน์สาธารณะ (l’intérêt général) และประโยชน์
ของผู้ร้อง ประโยชน์สาธารณะในที่นี้ คือลักษณะความลับ (le caractère confidentiel) ของข้อมูล
เหล่านั้นเพื่อการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพื่อการป้องกันผู้ให้ข้อมูลนั้น ในทางตรงกันข้าม บุคคลที่
เกี่ยวข้องกับแฟ้มข้อมูลดังกล่าวย่อมมีส่วนได้เสียอันส่าคัญอย่างยิ่ง (un intérêt très important) ที่จะ
รับทราบข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยให้เขารู้และเข้าใจชีวิตวัยเยาว์และการศึกษาในช่วงเวลาต่างๆ ของตน ดังนั้น
ศาลแห่งยุโรปจึงวินิจฉัยว่าการก่าหนดให้การเข้าถึงแฟ้มข้อมูลต่างๆ นั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความตกลง
ของบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล (l’acceptation des informateurs) จึงไม่สอดคล้องกับ
บทบัญญัติมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น
พื้นฐาน และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว โดยนัยดังกล่ว ศาลแห่งยุโรปได้ขยายกรอบการใช้บังคับ
“หลักความได้สัดส่วน” (le principe de la proportionnalité) ตามที่ได้รับรองไว้ในวรรคสองของมาตรา ๘
ของอนุสัญญาแห่งยุโรปส่าหรับกรณีการแทรกแซงสิทธิในชีวิตส่วนตัวของบุคคลโดยองค์กรของรัฐต่อการ
ก่าหนดหน้าที่กระท่าการขององค์กรของรัฐอันเนื่องมาจากสิทธิดังกล่าว การก่าหนดให้การตรวจดูแฟ้ม
ข้อมูลอยู่ภายใต้เงื่อนไขความยินยอมของผู้ให้ข้อมูลย่อมมิได้สัดส่วนกับประโยชน์สาธารณะอันเกี่ยวกับ
ลักษณะความลับของแฟ้มข้อมูลเหล่านั้น
ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวและชีวิต
ส่วนตัวของบุคคล มิเพียงแต่เป็นสิทธิทั่วไปของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลในการเข้าตรวจดู
ข้อมูลเท่านั้น (un simple droit général d’accès à des données personnelles) หากแต่ยังเป็นสิทธิ
ในชีวิตส่วนตัวของบุคคล (droit à la vie privée et familiale) ที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้ใน
อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และมาตรา ๙ แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งอีกด้วย
๒.๒.๓ การคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขังของประเทศ
๖๑
สาธารณรัฐฝรั่งเศส
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Code de la procédure pénale)
ของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้บัญญัติมาตรการต่างๆ ในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
ของผู้ต้องขังของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ไว้สรุปได้ดังนี้
๖๑
โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิผู้ต้องหา จ่าเลย และผู้ต้องโทษในคดีอาญา ,อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑๖