Page 53 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 53
๓๘
(๑) การติดต่อกับครอบครัว ถือเป็นมาตรการส่าคัญที่ขาดไม่ได้และเป็น
มาตรการที่จะท่าให้ผู้ต้องโทษนั้นปรับตัวเข้ากับสังคมเมื่อพ้นโทษได้ โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้
- สิทธิที่ได้รับการเยี่ยม ผู้ต้องขังมีสิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมเยียนจาก
สมาชิกในครอบครัวรวมทั้งบุคคลอื่นด้วย อย่างน้อย ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ (มาตรา D. 410 วรรค 2) ในวัน
เวลา และระยะเวลาที่ก่าหนดไว้ และสถานที่เยี่ยมนั้นจะต้องปราศจากสิ่งกีดกั้นที่จะแยกผู้เยี่ยมและ
ผู้ต้องขังออกจากกัน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงอาจมีการค้นตัวผู้ต้องขังก่อนและหลังการเยี่ยมได้
- การติดต่อสื่อสารทางจดหมาย โทรศัพท์ ผู้ต้องขังมีสิทธิติดต่อกับบุคคล
ทุกคนทางจดหมายได้ แต่เรือนจ่าอาจห้ามติดต่อกับบุคคลบางประเภทได้ หากจะเป็นการท่าให้การ
ปรับตัวคืนสู่สังคมล้มเหลว แต่ทั้งนี้จะตัดสิทธิไม่ให้ติดต่อกับคู่สมรส หรือครอบครัวไม่ได้ (มาตรา D. 414)
แต่ทั้งนี้ จดหมายที่ส่งและรับจะต้องถูกตรวจสอบเนื้อหา เว้นแต่เป็นจดหมาย
ที่ติดต่อกับทนายความ
นอกจากนั้น หากมีความจ่าเป็นอย่างยิ่ง ก็อาจขอโทรศัพท์ไปยังภายนอกได้
(๒) การใช้ชีวิตส่วนตัวของผู้ต้องขัง
- การอ่านหนังสือ ผู้ต้องขังมีสิทธิซื้อหนังสือ แต่หนังสือก็อาจถูกตรวจสอบ
ได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ (มาตรา D. 444)
- การฟังวิทยุและดูโทรทัศน์ ผู้ต้องขังมีสิทธิฟังวิทยุและดูโทรทัศน์แต่ต้อง
ไม่รบกวนผู้อื่น (มาตรา D. 431)
- การท่างานส่วนตัวอื่นๆ ผู้ต้องขังมีสิทธิท่างานส่วนตัวอื่นๆ ได้
๒.๓ สิทธิในความเป็นส่วนตัว และการรับรองและคุ้มครองในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนั้น เป็นส่วนหนึ่ง
ของการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Basic
law or grundgeset, the german constitution) เพื่อใช้เป็นการป้องกันการกระท่าของรัฐในการละเมิด
สิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล ในมาตรา ๑ และมาตรา ๒ บัญญัติให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์อันเป็นหลักการพื้นฐาน คือ รัฐต้องเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ปรากฏในกฎหมายพื้นฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของมนุษย์ที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของตนโดยเสรี ทั้งสองมาตรานี้เองก่อให้เกิดการ
รับรองสิทธิในความมีตัวตนของบุคคล ภายใต้สิทธิดังกล่าวปัจเจกชนมีอ่านาจในการควบคุม พัฒนา และ
แสวงหาประโยชน์ในสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวของตน และสิทธิในการได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคล ได้แก่ จดหมาย หรือวัสดุไปรษณีย์ และการติดต่อสื่อสารจาการกระท่าใดที่เป็นการแทรกแซงใดๆ