Page 54 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 54

๓๙



                                 ๒.๓.๑ การคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลทั่วไป

                                        ในปี ค.ศ ๑๙๕๔ ในคดี BGHZ 13} 334 (1954) ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์

                   สาธารณรัฐเยอรมนีได้วินิจฉัยไว้ว่าสิทธิในความมีตัวตนของบุคคลประกอบไปด้วยสิทธิ ๒ ประการ คือ
                                        (๑) สิทธิในความเป็นส่วนตัว

                                        (๒) สิทธิในการใช้ประโยชน์ในชื่อเสียง รูปพรรณ หรือเรียกว่าสิทธิในความมี
                   ตัวตนของตนเอง

                                         โดยสิทธิในส่วนหลังนี้มีความส่าคัญเพราะไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่พิสูจน์หรือ

                   จ่าแนกตัวบุคคลได้เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นด้วย ดังนั้น
                   ชื่อของบุคคลจึงพึงได้รับความคุ้มครองในฐานะที่ชื่อเป็นวัตถุแห่งสิทธิตามสภาพบุคคลประการหนึ่ง

                   ซึ่งนอกจาก ชื่อตัว ชื่อรอง และชื่อสกุลแล้วกฎหมายให้ความคุ้มครองไปถึงชื่อที่ใช้เรียกขานบุคคลอื่นๆ
                   เช่น นามแฝง ฉายา บรรดาศักดิ์ หรือราชทินนามที่กษัตริย์พระราชทานตามราชประเพณีโบราณ กรณี

                   ท่านองเดียวกันกับรูปภาพบุคคล บุคคลย่อมมีสิทธิในรูปภาพ มีสิทธิที่จะไม่ให้ผู้ใดจ่าลองภาพของตนไป

                   ท่างานเขียน หรือแสดงละคร หรือถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งในความเห็นทางกฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐ
                   เยอรมนีถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวและนอกจากนี้ยังได้รับความคุ้มครองตาม

                   ประมวลกฎหมายแพ่งภายใต้ชื่อหลักการคุ้มครอง “สิทธิอื่นๆ (Other right)” มาตรา ๘๒๓ (๑) ในการ

                   รับรองสิทธิและความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิในการพัฒนาบุคลิกภาพหรือความมีตัวตน
                   ของบุคคลในรูปภาพและสิทธิในการใช้นามของบุคคล รวมถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)

                   และข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลทั่วไปบนพื้นฐานของมาตรา ๘๒๖ แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง บุคคลใดจงใจท่าให้
                                                                                                   ๖๒
                   คนอื่นได้รับความเสียหายในการละเมิดศีลธรรมอันดีต้องชดใช้ค่าเสียหายจากการกระท่าดังกล่าว
                                         รูปแบบการละเมิดสิทธิเกี่ยวกับบุคคลของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

                   ได้มีการแบ่งออกเป็น ๕ กรณี (สรุปจาก Beverly-Smith, Hew Ohly and Lucass-Scholoetter. Privacy,
                                              ๖๓
                   Property and Personality) คือ
                                         (๑) การล่วงล้่าเข้าไปในความเป็นส่วนตัวของบุคคล (intrusion into private
                   sphere) เช่น การลักลอบถ่ายภาพส่วนตัวของบุคคล (คดี Caroline II, BGHZ 131, 332.)

                                         (๒) การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของบุคคล (the  publication  of  personal

                   information) เช่น การเผยแพร่ชื่อ หรือ ข้อมูลส่วนตัวของบุคคล (คดี Lebach, BVerfG 35, 202.)
                                         (๓) การกระท่าให้บุคคลเสื่อมเสียชื่อเสียง (defamation) กรณีนี้จะมีลักษณะที่

                   คล้ายคลึงกับการหมิ่นประมาทตามกฎหมายไทย






                          ๖๒
                             ปิยะพร  วงศ์เบี้ยสัจจ์, “การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยธนาคารพาณิชย์กับมาตรการทางกฎหมายในการ
                   คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต,๒๕๕๑ น.๓๕ – ๓๗
                          ๖๓
                             ข้อมูลอ้างอิงจาก http://law.soc.ku.ac.th/?p=2459
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59