Page 56 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 56
๔๑
(๓) หลักความยินยอม (section 4 a)
(ก) ความยินยอมต้องมาจากผู้ทรงสิทธิที่มีอิสระในการตัดสินใจ
ซึ่งก่อนตัดสินใจผู้ทรงสิทธิย่อมขอทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม การใช้ และการด่าเนินการ
ได้ และความยินยอมจะต้องกระท่าเป็นหนังสือ เว้นแต่มีสถานการณ์พิเศษอาจกระท่าในรูปแบบอื่น
ที่เหมาะสมได้
(ข) ในกรณีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถานการณ์พิเศษตาม (ก) รวมถึง
จะต้องแจ้งถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหนังสือด้วย
(ค) ในกรณีที่เป็นการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการด่าเนินการกับข้อมูลที่
มีลักษณะพิเศษ (sensitive data) การให้ความยินยอมจะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารวมถึงข้อมูล
ลักษณะพิเศษด้วย
(๔) การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
(ก) หากไม่ได้โอนไปยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ EU และประเทศนั้น
ไม่มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลอย่างเพียงพอ ห้ามโอนเด็ดขาด
(ข) หากโอนไปยังประเทศใน EU ให้ปฏิบัติตาม section 15 - 16 และ
28 – 30
(ค) มาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ ให้ค่านึงถึงการ
ก่าหนดชนิดของข้อมูล วัตถุประสงค์และระยะเวลาของการด่าเนินการกับข้อมูล ประเทศที่มาและ
ประเทศปลายทางของข้อมูล หลักนิติธรรม (The rule of law) หรือมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
แก่ข้อมูล
(ง) ความรับผิดชอบในการโอนโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นอยู่ที่ผู้ซึ่งท่าการโอน
(จ) ผู้รับข้อมูลที่โอนจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการโอนข้อมูล
(๕) ข้อยกเว้นของการโอนไปยังต่างประเทศ (section 4 c)
(ก) ได้รับความยินยอมจากผู้ทรงสิทธิ
(ข) เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่ากับผู้ทรงสิทธิ หรือเพื่อปฏิบัติตาม
มาตรการตามที่ผู้ทรงสิทธิร้องขอเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาที่จะท่าขึ้น
(ค) เป็นการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลกับผู้ซึ่งได้รับโอน
ข้อมูลเพื่อประโยชน์ของผู้ทรงสิทธิ
(ง) เพื่อรักษาประโยชน์เกี่ยวกับชีวิตของผู้ทรงสิทธิ
(จ) The competent supervisory authority อาจอนุญาตให้มีการโอนได้
ถ้าผู้ควบคุมข้อมูลซึ่งเป็นผู้โอนได้แสดงให้เห็นว่าในประเทศผู้รับโอนมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
อย่างเพียงพอ ซึ่งมาตรการอาจจะก่าหนดในสัญญากับผู้รับโอนก็ได้