Page 20 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 20

๕


                                     การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน

                   อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง  หรือความเป็นอยู่
                   ส่วนตัว จะกระท ามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน”

                                     ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับก็ได้

                   บทบัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวไว้ในมาตรา ๓๕ ซึ่งบัญญัติว่า
                                     “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อม

                   ได้รับความคุ้มครอง
                                     การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน

                   อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว
                   จะกระท ามิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

                                     บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูล

                   ส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
                                     จะเห็นได้ว่ามาตรา ๓๕ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                   พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นจากมาตรา ๓๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                   พุทธศักราช ๒๕๔๐ เพื่อให้การความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลชัดเจนยิ่งขึ้น
                                     แม้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                   จะก่าหนดรับรองและคุ้มครองสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวไว้โดยชัดเจน แต่เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่

                   ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเป็นไปได้
                   โดยสะดวก รวดเร็ว เชื่อมต่อข้อมูลกันได้ทั่วโลก ในทางตรงกันข้ามความเจริญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

                   ดังกล่าวนั้นก็ส่งผลกระทบต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมากเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อเทคโนโลยี
                   สารสนเทศมีประสิทธิภาพ ก็ส่งผลให้การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลเกิดขึ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น และ

                   เมื่อการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลมีแนวโน้มที่จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายในสังคมไทย

                   ปัจจุบัน จึงถือเป็นภาระหน้าที่ที่ส่าคัญของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะองค์กรหลักในการ
                   ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะต้องเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิในความ

                   เป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล แต่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในกรณีนี้ จ่าเป็น
                   จะต้องมีก่าหนดกรอบหรือขอบเขตของค่าว่า “ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล” ที่คณะกรรมการสิทธิ

                   มนุษยชนแห่งชาติมีสิทธิที่จะเข้าไปตรวจสอบให้มีความชัดเจน เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างมี

                   ประสิทธิภาพและสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลได้
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25