Page 22 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 22
๗
(๖) หลักการเปิดเผยข้อมูล
สาระส่าคัญ คือ ควรมีการประกาศนโยบายฯ ให้ทราบโดยทั่วกัน
หากมีการปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาแนวนโยบายหรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลก็ควรเปิดเผย
หรือประกาศไว้ให้ชัดเจน รวมทั้งให้ข้อมูลใดๆ ที่สามารถระบุเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐผู้ให้บริการ
ที่อยู่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ด้วย
(๗) หลักการมีส่วนร่วมของบุคคล
สาระส่าคัญ คือ ให้บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับแจ้งหรือยืนยัน
จากหน่วยงานของรัฐที่เก็บรวบรวมหรือจัดเก็บข้อมูลทราบว่า “หน่วยงานของรัฐนั้นๆ ได้รวบรวมข้อมูล
หรือจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวหรือไม่ ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม”
(๘) หลักความรับผิดชอบ
สาระส่าคัญ คือ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องปฏิบัติตามนโยบาย
และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
๑.๔.๒ ความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับเนื้อตัวและร่างกาย ( Bodily Privacy)
ความเป็นส่วนตัวในชีวิตร่างกาย (Bodily Privacy) เป็นการให้ความ
คุ้มครองในชีวิตร่างกายของบุคคลในทางกายภาพที่จะไม่ถูกด่าเนินการใดๆ อันละเมิดความเป็นส่วนตัว
อาทิ การทดลองทางพันธุกรรม การทดลองยา เป็นต้น
๑.๔.๓ ความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร (Privacy of Communication)
เป็นการให้ความคุ้มครองในความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในการ
ติดต่อสื่อสารทางจดหมาย โทรศัพท์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการติดต่อสื่อสารอื่นใดที่ผู้อื่นจะ
ล่วงรู้มิได้
๑.๔.๔ ความเป็นส่วนตัวในการอยู่หรือพักอาศัย (Territorial Privacy)
เป็นการก่าหนดขอบเขตหรือข้อจ่ากัดที่บุคคลอื่นจะรุกล้่าเข้าไปในอาณาเขต
แห่งสถานที่ส่วนตัวมิได้ ทั้งนี้ รวมทั้งการติดกล้องวงจรปิด และการตรวจสอบหมายเลขประจ่าตัวประชาชน
ของบุคคลเพื่อการเข้าที่พักอาศัย (ID checks)
๑.๕ การแทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้ว่าสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งมีที่มาจาก
แนวความคิดเรื่องสิทธิตามธรรมชาติที่มีความเชื่อว่าเหนืออ่านาจสูงสุดของมนุษย์คือธรรมชาติและมนุษย์
ถือก่าเนิดขึ้นมาพร้อมกับสิทธิในชีวิต สิทธิในทรัพย์สิน เสรีภาพในร่างกายและความเสมอภาคกันสิทธิ
และเสรีภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ผู้ใช้อ่านาจปกครองไม่มีอ่านาจที่จะลบล้างและ
มิอาจจะก้าวล่วงได้ ดังนั้น บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในความเป็นอยู่ส่วนตัว และสามารถ
กระท่าการใดๆ ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของบุคคลอื่นและไม่ผิดกฎหมาย แต่ในบางกรณี รัฐจ่าเป็น