Page 19 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 19
๔
สิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศและก่าหนดรับรองว่าบุคคลเป็นผู้ทรงสิทธิต่างๆ อย่างแท้จริง
ในทางระหว่างประเทศได้แสดงออกเป็นครั้งแรกในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘
(The Universal Declaration of Human Rights 1948)
๑.๓ ขอบเขตและค านิยามของ “สิทธิในความเป็นส่วนตัว (right to privacy)
สิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือ สิทธิส่วนบุคคล (right to privacy) ที่ประชุม ICJ
(International Commission of Jurists) ได้ให้ความหมายไว้ในการประชุมเมื่อปี ๑๙๖๗ ที่กรุงสต็อกโฮล์ม
ประเทศสวีเดน ว่าเป็น “สิทธิที่จะอยู่โดยล่าพังโดยมีการรบกวนการแทรกแซงในระดับที่น้อยที่สุด” ซึ่งมี
๑๒
การขยายความว่า หมายถึงสิทธิของปัจเจกชนที่จะด่าเนินชีวิตโดยได้รับการคุ้มครองจากสิ่งเหล่านี้ คือ
๑.๓.๑ การแทรกแซงในชีวิตความเป็นส่วนตัว ครอบครัว และเคหะสถาน
๑.๓.๒ การแทรกแซงในทางกายภาพ หรือในทางจิตใจ หรือศีลธรรมและเสรีภาพ
ในทางความคิด
๑.๓.๓ การกระท่าต่อเกียรติยศและชื่อเสียง
๑.๓.๔ การไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง ซึ่งท่าให้เป็นที่เสื่อมเสีย
ในสายตาของสาธารณชน
๑.๓.๕ การเปิดเผยข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องอันเป็นที่น่าอับอายเกี่ยวกับชีวิตความ
เป็นส่วนตัว
๑.๓.๖ การใช้ชื่อหรือเครื่องหมายชี้เฉพาะหรือภาพโดยไม่มีอ่านาจ
๑.๓.๗ การสืบความลับ การสอดรู้สอดเห็น การติดตามเฝ้าดู และการรบกวน
๑.๓.๘ การแทรกแซงการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
๑.๓.๙ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับ ซึ่งผู้กระท่าได้รับมาอันเนื่องมา
จากการประกอบวิชาชีพนั้น
๑.๓.๑๐ การใช้งานในทางที่มิชอบซึ่งการติดต่อสื่อสารส่วนบุคคล
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าขอบเขตที่บุคคลควรได้รับการคุ้มครองและการเคารพ
ในสิทธิความเป็นส่วนตัวก็คือการด่ารงชีวิตอย่างเป็นอิสระ มีสิทธิที่จะแสวงหาความสุขในชีวิตตามวิถีทาง
ที่อาจเป็นไปได้และเป็นความพอใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ
ศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
ในประเทศไทยหลักการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน
เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ในมาตรา ๓๔ ซึ่งบัญญัติว่า
“สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
๑๒ วีรพงษ์ บึงไกร. (๒๕๔๓) การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ หน้า ๑๔