Page 18 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 18
๓
ค่าประกาศนี้มีความส่าคัญอย่างยิ่งและเป็นเอกสารชิ้นแรกที่มีการ
แบ่งแยกระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิพลเมือง โดยให้ความหมายสิทธิมนุษยชนไว้ว่าเป็นสิทธิพื้นฐาน
(Fundamental Right) เพราะเป็นสิทธิที่ด่ารงอยู่ก่อนรัฐ ส่วนสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่รัฐและกฎหมาย
บ้านเมืองก่าหนดให้ สิทธิพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้สิทธิมนุษยชน โดยหลักการส่าคัญที่ค่าประกาศฯ
วางไว้คือ หลักว่าด้วยเสรีภาพซึ่งถือเป็นสิทธิประการแรกของมนุษย์ หลักว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย
และหลักว่าด้วยความเสมอภาค ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าค่าประกาศฉบับดังกล่าวเป็นเอกสารทางสิทธิมนุษยชน
ที่ส่าคัญและถูกน่ามากล่าวอ้างทั้งในการเผยแพร่ การศึกษา และเพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนในการต่อสู้
๑๐
เพื่อมนุษยชน
๑.๒ พัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัว
แม้ประเทศต่างๆ จะมีออกกฎบัตรและค่าประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนออกมา
ใช้บังคับ แต่ก็เป็นเพียงความพยายามที่จะสร้างหลักประกันสิทธิมนุษยชนขึ้นภายในประเทศนั้นๆ เท่านั้น
มิได้มีสถานะเป็นหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศแต่อย่างใด ประกอบกับหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้เกิด
การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในประเทศต่างๆ สังคมระหว่างประเทศจึงมีแนวความคิดที่จะ
ผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนให้เป็นเรื่องระหว่างประเทศหรือสิทธิระหว่างประเทศที่ทุกประเทศจะต้อง
เข้าไปช่วยเหลือเพื่อยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดการก่อตั้งองค์การ
สหประชาชาติขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันที่จะให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการก่อตั้งองค์การ
สหประชาชาตินี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสถาบันระดับชาติเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ในเวลาต่อมา
ในกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งเป็นตราสารที่ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้แสดงให้
เห็นเจตจ่านงของการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติไว้ว่า
“ เราประชาชนแห่งสหประชาชาติมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องลูกหลานเราจาก
หายนะแห่งสงครามซึ่งน าความวิปโยคอย่างสุดพรรณนาสู่มวลมนุษยชาติในชั่วชีวิตเราถึงสองครั้ง และ
ยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรีและคุณค่าแห่งมนุษย์ในสิทธิอันเท่าเทียมกัน
ระหว่างประชาชาติน้อยใหญ่ และสถาปนาสภาวการณ์อันจะธ ารงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเคารพใน
พันธกรณีอันเกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ และส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและ
๑๑
มาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้นในเสรีภาพที่กว้างขึ้น ”
แม้ตราสารก่อตั้งองค์การสหประชาชาติจะก่าหนดให้มีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ไว้ก็ตาม แต่เป็นการก่าหนดหน้าที่ของประเทศสมาชิกเท่านั้น มิได้รับรองว่าบุคคลเป็นผู้ทรงสิทธิมนุษยชน
โดยตรงในทางระหว่างประเทศแต่อย่างใด แต่เจตจ่านงร่วมกันของประเทศต่างๆ เพื่อรับรองและคุ้มครอง
๑๐
โภคิน พลกุล,ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย.กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศ
ไทย, ๒๕๒๑,หน้า ๘๗
๑๑ เสรี นนทสูติ,สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดองค์กรอิสระ
ตามรัฐธรรมนูญ เรื่อง ๓ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา,๒๕๔๕,หน้า ๘