Page 17 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 17

๒


                                     ๑.๑.๒ ค าประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา (The  Declaration  of

                   Independence)
                                             ที่มาของค่าประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา มีสาเหตุ

                   มาจากการที่ประเทศอังกฤษออกกฎหมายเก็บภาษีจากดินแดนอาณานิคมในจ่านวนที่สูงมากจนเกิดการ

                   ต่อต้านจากดินแดนอาณานิคมอย่างรุนแรง ท่าให้ดินแดนที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษจ่านวน ๑๓ มลรัฐ
                   ในทวีปอเมริกาตัดสินใจแยกตัวออกจากประเทศอังกฤษและได้จัดตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นและ

                   มอบหมายให้นาย Thomas Jefferson ยกร่างค่าประกาศอิสรภาพ (The Declaration of Independence)
                   และมีการประกาศเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ค .ศ  .๑๗๗๖ โดยค่าประกาศอิสรภาพได้ยืนยันถึงสิทธิและ

                                                 ๙
                   เสรีภาพของมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน  ต่อมาเมื่อได้มีการจัดท่ารัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้นและ
                   ประกาศใช้เมื่อ ๑๗ กันยายน ค.ศ. ๑๗๘๗ ในอารัมภบทของรัฐธรรมนูญก็ได้มีการรับรองหลักการของ

                   ประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา (The Declaration of Independence) ไว้ว่า “ เราประชาชน

                   แห่งสหรัฐเพื่อที่จะจัดตั้งสหภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสถาปนาความยุติธรรม เพื่อที่จะประกันความ
                   สงบภายในเพื่อที่จะท่าให้มั่นคงซึ่งเสรีภาพที่ได้รับมาแก่ตัวเราเองและชนชั้นหลัง จึงได้บัญญัติและ

                   สถาปนารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ส่าหรับสหรัฐอเมริกา”

                                     ๑.๑.๓ ค าประกาศว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมืองของประเทศสาธารณรัฐ
                   ฝรั่งเศส (La Declaration des Droits de L’Homme et du citoyen)

                                             ที่มาของค่าประกาศฯ ฉบับนี้เกิดจากเหตุการณ์ของประเทศสาธารณรัฐ

                   ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอและเศรษฐกิจของประเทศที่ย่่าแย่
                   มีการเก็บภาษีไม่เป็นธรรม ประกอบกับมีการเผยแพร่แนวคิดของนักปราชญ์ต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ

                   ของประชาชน ท่าให้ประชาชนของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสก่อการปฏิวัติครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ ๑๔
                   กรกฎาคม ค .ศ. ๑๗๘๙ โดยเข้าท่าลายคุกซึ่งกักขังนักโทษการเมืองและได้จับกุมชนชั้นปกครอง

                   มาประหารชีวิตเป็นจ่านวนมาก

                                             ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ค.ศ.  ๑๗๘๙ สมัชชาแห่งสหประชาชาติ
                   ได้ประกาศใช้  “ ค่าประกาศว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมืองของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส”

                   (“La  Declaration des Droits de L’Homme et du citoyen”) ซึ่งมีเนื้อหาที่มุ่งเน้นถึงเสรีภาพและ
                   ความเท่าเทียมกัน และสิทธิที่มีอยู่โดยธรรมชาติซึ่งได้แก่ สิทธิในชีวิต สิทธิที่จะมีเสรีภาพ สิทธิในทรัพย์สิน

                   สิทธิที่จะมีความปลอดภัย และสิทธิที่จะต่อต้านการกดขี่ สิทธิตามธรรมชาติเหล่านี้จะต้องไม่ถูกลิดรอน

                   และเสรีภาพมีขอบเขตที่กว้างขวางตราบเท่าที่ไม่เป็นการรบกวนสิทธิของผู้อื่น









                          ๙  บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,กฎหมายมหาชน:วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ ,

                   พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.๒๕๓๗,หน้า ๕๙-๖๐
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22