Page 96 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 96

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   95


                                   เขาก็นึกได้ทันทีว่าจะต้องมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลขึ้นเป็นแน่แท้ เจ้ายูโซะนั้นอาจจะ
                            วางใจได้ยิ่งกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่นางมิเด๊ะผู้ม่ายสามร้างเล่า เขาจะวางใจได้เพียงไหน นาง
                            อาจจะใช้กลิ่นบุหงาร่ําของนางยวนยั่วจนไอ้ยูโซะตบะแตกด้วยเห็นว่ามันเป็นหนุ่มแน่นข้อลําหนัก

                            ทั้งไม่เคยยุ่งแวะอิสตรีมาก่อนแม้แต่เมียเก่าของมัน” (มนัส จรรยงค์, 2550: 43)

                            การหลงเสน่ห์ผู้หญิงคนเดียวทําให้ทั้งสองฝ่ายกลายเป็นโจร เขาตามไปล้างแค้นยูโซะจนสามารถเป็น

                     ฝ่ายได้เปรียบ นางมิเด๊ะ “ปรากฏตัวขึ้นเหมือนนางพรายปาฏิหาริย์” แต่ก่อนที่เขาจะฆ่ายูโซะนั้นมิเด๊ะได้ใช้ปืน
                     ฆ่ายูโซะก่อนโดยให้เหตุผลว่ายูโซะข่มขืนนาง และอ้อนวอนขอให้เขาอภัยให้ ผู้เล่าเรื่องกล่าวว่า “อันบุรุษอาจ
                     เปรียบได้เสมือนควายโง่ แม้จะรู้ว่าหนองน้ําปลักโคลนนั้นจะอุดมด้วยทากและปลิงอันอาจสูบเลือดให้ม้วย

                     มรณ์ไปได้ แต่ความกระหายต่อรสน้ําอันมิรู้เหือดก็นํามันสู่มรณะนั้นโดยมิได้พรั่นพรึงแต่ประการใด” (มนัส
                     จรรยงค์, 2550: 50) อันเป็นการแสดงความเห็นของผู้เล่าเรื่องแบบสัพพัญญูที่เสนอความคิดที่เป็น “สัจธรรม”

                     ที่ว่าผู้หญิงเป็นสาเหตุที่ทําให้ผู้ชายตายโดยเปรียบผู้หญิงเป็นปลิงหรือทากที่ดูดเลือดผู้ชาย ภายหลังเมื่อคืนดี
                     กันเขานอนหลับและรู้สึกตัวว่ามีคนลอบทําร้าย “บัดนั้นตาเขาก็พลันสว่าง และรู้ฉับไวว่าบุคคลที่ย่องมาสังหาร

                     เงียบ เขาผู้นี้ย่อมจะเป็นชู้รักอีกคนหนึ่งของม่ายร้ายเสน่ห์ผู้มีเล่ห์เหลือที่จะคณานับ” (มนัส จรรยงค์, 2550:
                     52) เขาฆ่าชู้รักของเมียและเมียตนเองอย่างโหดร้าย “เขาใช้มีดเล่มนั้นกรีดใบหน้าอันวอนฤทัยของนางโดยไม่

                     ยั้งมือ และกรีดลงไปจนถึงทรวงอก ถึงช่วงท้องและช่วงขาอันงามลานตา จนกระทั่งร่างทั้งร่างหมดสิ้นซึ่งความ
                     ทุรนทุราย” (มนัส จรรยงค์, 2550: 52)


                                                          จากเรื่องที่เล่าจากมุมของ “เขา” ดูเหมือนว่านางมิเด๊ะเป็น
                                                   ตัวละครหญิงแพศยาที่ถูกลงโทษอย่างสาสม หากแต่มองจากมุมของ

                                                   ผู้หญิง เรื่องราวของเธอถูกผลิตซ้ําด้วยวาทกรรม “กระดังงาลนไฟ”
                                                   และตกเป็นเหยื่อของสามีที่กําหนดชีวิตของเธอว่าจะให้ไปอยู่กับใคร

                                                   ตามพิธี  “จี นอ บู ตอ” และเมื่อเธอทําตามก็ไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหาว่า
                                                   ใช้เสน่ห์ทําให้ยูโซะหลงใหลเมื่อมิเด๊ะต้องการเป็นฝ่าย “กระทํา”

                                                   มากกว่า “ถูกกระทํา” ในกรณีที่เลือกอยู่กับชายอีกคนหนึ่งที่ “เขา”
                                                   เรียกว่าเป็น “ชายชู้” มิเด๊ะจึงถูกลงโทษอย่างโหดเหี้ยมเหมือนสัตว์ที่

                                                   ถูกเชือด

                            จากตัวอย่างของทั้งสองเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกลงโทษในขณะที่อยู่กึ่งกลางของความ

                     ขัดแย้ง ระย้าถูกทํา “ตําหนิ” โดยการกรีดหน้าเพื่อลดค่าความเป็นผู้หญิงของเธอลงไป เพราะผู้หญิงถูก
                     ประเมินค่าเพียงแค่ความงาม ดังนั้น ผู้หญิงที่มีใบหน้าที่มีตําหนิคือผู้หญิงที่ค่าลดลง ส่วนมิเด๊ะถูก “เชือด” ราว

                     กับสัตว์เพื่อระบายความแค้น
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101