Page 93 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 93

92       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                สะอาดสะอ้านและสวยงามเหล่านี้ว่าเจ้านายหรือไม่ก็เทวดาก็เป็นได้” (มนัส จรรยงค์, 2546: 134) (ข้อความ
                เน้นโดยผู้เขียนบทความ)


                       การเปรียบเทียบดอกไม้กับสัตว์ป่าดังกล่าวแสดงว่าผู้หญิงคนนี้ทําตามสัญชาตญาณดิบ (อย่างสัตว์) ที่
                พลีร่างของตนแด่ผู้ชายที่มีฐานะสูง “เจ้านายหรือไม่ก็เทวดา” โดยที่ไม่มีสํานึกของความผิดชอบชั่วดี ผู้หญิงใน

                ป่าจึงถูกจัดประเภทให้เป็นสัตว์ป่าที่ยังไม่ถูกทําให้เชื่อง ควบคุม หรืออบรมโดยจริยธรรมที่เหมาะที่ควรของ
                โลกที่เจริญแล้ว


                          ในการกล่าวถึงเรื่องความรัก เรื่อง “ป่าดงพงพี” ของ มนัส จรรยงค์ได้ตอกย้ําให้เห็นการเปรียบผู้หญิง
                กับสัตว์ผ่านแนวคิดเกี่ยวกับความรักแบบสัตว์ป่า ในเรื่องนี้ “เจ้าเด่น” ฉุด “สารภี” ไปก่อนที่สารภีจะแต่งงาน

                กับ “ใหญ่” ชายที่พ่อแม่หาไว้ให้โดยที่สารภีไม่ยินยอม ในป่าพวกเขาเห็นการเผชิญหน้าระหว่างลิงสองฝูงซึ่ง
                น่าจะเป็นการ “ยกพวกตีกัน” แต่เมื่อลอบสังเกตไปสักพักก็พบว่ามีลักษณะของ “พิธีกรรม” ที่ลิงจ่าฝูงฝ่าย

                หนึ่งยกลิงตัวเมียของฝูงตนให้แก่ลิงของอีกฝูง

                               ฝูงลิงค่อยๆ เคลื่อนที่เข้าไปกันช้าๆ เจ้าลิงน้อยอันกําลังเป็นสาวดิ้นรนและร่ําร้อง แต่
                       กระนั้นมันก็ไม่อาจที่จะขัดขืนได้ เพราะว่าแขนของมันถูกจับไว้มั่นด้วยมือของเจ้าหัวหน้าหรือ
                       หัวโจกที่ตัวมันใหญ่โตผิดกว่าธรรมดา มันร้องแล้วร้องเล่า จนกระทั่งฝูงเจ้าบ่าวค่อยๆ เคลื่อนตัว
                       เข้ามาจนใกล้ชิด ในที่สุดเจ้าหัวหน้าฝูงก็ส่งนางลิงน้อยไปให้แก่เจ้าบ่าว มันรีบตะครุบนางลิงน้อย

                       นั้นไว้ ครั้นแล้วเจ้าบ่าวก็ร้องออกมาด้วยเสียงโหยหวน ส่วนนางลิงก็ร้องแต่เสียงครอก...ครอก
                       อยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้ดิ้นรน (มนัส จรรยงค์, 2546: 134)

                        พิธีกรรมของลิงนี้ถูกเจ้าเด่นตีความว่าเป็นการแสดงความรักกันของสัตว์โดยกล่าวว่า “สัตว์ยังรู้จัก
                รักกัน” แต่สารภีเถียงว่า “มันแต่งงานกัน มันไม่ได้ฉุดกัน” ซึ่งทําให้เด่นโกรธที่สารภีต้องการที่จะกลับไป

                แต่งงานกับใหญ่ แต่ในไม่ช้าใหญ่ก็ตามมาทัน เมื่อสารภีเห็นว่าใหญ่คงจะต้องฆ่าเด่นแน่จึงยอมหนีไปกับเด่นแต่
                ก็ไม่พ้น เด่นถูกปืนของใหญ่ แต่ก่อนตายเขาได้ขว้างมีดเข้าที่ลําคอของใหญ่ก่อน ความตายของชายสองคนจึง
                เกิดจากการแก่งแย่งผู้หญิงคนหนึ่ง


                       น่าสังเกตว่าเรื่องนี้นําเอาประเด็นความรักไปเปรียบเทียบกับสัตว์ และสารภีในตอนต้นเรื่องที่ดิ้นรน

                และร่ําร้องเพราะถูกฉุดมาจึงไม่ต่างกับ “นางลิงน้อย” ที่ “กําลังเป็นสาวดิ้นรนและร่ําร้อง” และเมื่อลิงหัวโจก
                ส่งมอบลิงสาวให้แล้วเจ้าลิงสาวก็ได้แต่ “ร้องแต่เสียงครอก...ครอกอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้ดิ้นรน”

                เช่นเดียวกับสารภีที่เปลี่ยนใจหนีไปกับเด่นอย่างง่ายดาย การนําเสนอภาพของสารภีเช่นนี้จึงเป็นการผลิตซ้ํา
                ภาพ “ผู้หญิงใจง่าย”
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98