Page 91 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 91
90 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ฉุดคร่า หรือถูกข่มขืนแสดงถึงความอ่อนแอและการช่วยตนเองไม่ได้ ข้อน่าสังเกตคือผู้เล่าเรื่องแทบมิได้
นําเสนอเรื่องในมุมมองของผู้หญิงเลยว่ามีความรู้สึกหรืออารมณ์อย่างไรในท่ามกลางความรุนแรงเหล่านี้
ดังนั้น ผู้หญิงในเรื่องเหล่านี้เป็น “วัตถุ” แห่งการแย่งชิงของผู้ชายอย่างแท้จริง
ผู้หญิงในป่า: ภาพลักษณ์ของความเป็นอื่น
ประเด็นที่น่าสนใจของงานแนวผจญไพรก็คือลักษณะของการสร้างภาพแทนของผู้หญิงมักมีลักษณะ
ที่เข้าแบบ ผู้หญิงเหล่านี้มักถูกเปรียบเทียบกับดอกไม้ เช่น เรื่อง “ไพร่ฟ้า” ตัวละครหญิงชื่อ “บัวคํา” ซึ่งมีคน
รักเป็นชาวขมุชื่อ “อินถา” ตกเป็นเหยื่อราคะของหม่อมราชวงศ์ป่ายปีน ราชพฤกษ์หลานเจ้าของบริษัท
สัมปทานป่าที่กล่าวเปรียบเทียบบัวคําว่าเป็นพลับพลึงป่า “ที่เชิงเขายังมีพลับพลึงไพรทั้งสวยทั้งสดทั้งสล้าง
ชวนให้เด็ดให้ดมเสียด้วย” ที่น่าสังเกตก็คือ ตัวละครหญิงในเรื่องสั้นเหล่านี้มักมีชื่อเป็นดอกไม้ เช่น บัวคํา
(ไพร่ฟ้า) บุหรง (ใครจะเปลื้องบาปนี้ให้ฉัน) สารภี (ป่าดงพงพี) ดอกไม้ (ซึงผี) ยี่สุ่น (ตอกทอย) ซ่อนกลิ่น (รอย
แรด) ระย้า (สักแหลน) ส่วนในเรื่อง “เอื้องฟ้ามุ่ยกลิ่นสาบควาย” ตัวเอกชื่อ “เยา” แต่ก็ถูกเปรียบกับดอก
เอื้องฟ้ามุ่ย การตั้งชื่อและการเปรียบเทียบผู้หญิงเป็นดอกไม้จึงเป็นการผลิตซ้ําสัญลักษณ์ของความเป็นผู้หญิง
ที่มีอัตลักษณ์อยู่ที่ความงาม เป็น “วัตถุ” ที่ “ชวนให้เด็ดให้ดม” นัยของความเปรียบดังกล่าวก็คือในเมื่อ
ผู้หญิงเป็นดอกไม้ก็ต้องเป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ชายจะต้องเชยชม ดังนั้นสิ่งที่เกิดกับผู้หญิงจึงเป็นความผิดของ
เธอเองที่เกิดมาเป็นผู้หญิง ดังที่ปรากฏในเรื่อง “เอื้องฟ้ามุ่ยกลิ่นสาบควาย” ซึ่งมีการบรรยายภาพที่แสดง
ประเด็นดังกล่าวอย่างชัดเจน
ที่ชะง่อนเชิงดอย เยาหยุดเก็บกล้วยไม้ หล่อนแซมมันไว้ที่มวยผมเหนือหูซ้ายของหล่อน
ดอกหนึ่ง เสียบที่รังกระดุมเสื้อเชิ้ตฉันดอกหนึ่ง เมื่อตาของเราประสานกัน เยากะพริบเร็วและ
หลบต่ําอย่างเหนื่อยๆ ครั้งแล้วศีรษะก็ตกลง ผมที่ยังไม่แห้งม้วนตัวลงมาประบ่าเป็นก้อนใหญ่
ทันใด ปีศาจของความราคะก็ผลักฉันเข้าหาหล่อน มนตร์กักขฬะของมันมอมฉันจนเมา
มาย เยาถูกแขนของฉันกระชากอย่างไม่ปรานีปราศรัยเข้ามาในอ้อมอก แล้วจูบที่เต็มความโสมมก็
ระดมลงไปบนแก้มและปากและเปลือกตา เยาตัวสั่นจนทรวงอกที่ตึงและแหลมในซิ่นที่นุ่ม
กระโจมไว้นั้นกระเพื่อม แต่-อะไรนั่น เมื่อรู้สึกได้ทันว่าริมฝีปากของเด็กสาวนี้กําลังไต่ขึ้นมาเพื่อ
พบกับริมฝีปากของฉัน อํานาจหนึ่งก็บังคับให้มือที่เกาะไหล่หล่อนแน่นคลายลง แล้วผลักกระเด็น
ไปจนร่างเล็กๆ นั้นซวนกระแทกกับพื้นดิน แต่เยากําลังเป็นเยาที่เง่างั่ง หล่อนผุดลุกขึ้นโดยเร็ว
และโผเข้าสู่ฉันอีก พึมพําคําที่เลอะเทอะไม่เป็นภาษาออกมา...
“บ้า—บ้าริยํา” ฉันคําราม “ทําไมไม่รีบหนีไปจากฉัน แม่หนูเอ๋ย ทําไมถึงตามฉันมา มัน
รังควานความรู้สึกของฉันนัก รู้ไหม นี่เป็นความผิดของใคร ของเยาเองนั่นแหละ (อิศรา อมันตกุล,
2531: 126)