Page 94 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 94

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   93


                            เรื่อง “เอื้องฟ้ามุ่ยกลิ่นสาบควาย” ของอิศรา อมันตกุลเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เปรียบ “เยา” กับสัตว์ ตัวละคร
                     “ฉัน” เห็นความรักของเยาที่มีต่อชาวเมืองอย่างเขาเป็นสิ่งที่ “เง่างั่ง” เรื่องเล่าดําเนินต่อไปว่าเมื่อทั้งสองเล่น

                     น้ําเสร็จ “เยาคลานตามขึ้นมานั่งสยายผมอยู่ที่ปลายเท้า ดวงตาของหล่อนไม่ผิดอะไรกับดวงตาของหมาที่
                     ซื่อสัตย์เมื่อกระดิกหางอยู่ที่ปลายเท้าของเจ้าของ” (ข้อความที่เน้นเป็นของผู้เขียนบทความ) (อิศรา อมันตกุล,
                     2531: 124) ตัวละคร “ฉัน” ต้องระงับอารมณ์อย่างเต็มที่ “ถ้าหากฉันบังคับใจตนเองไม่สําเร็จ ถ้าหากท่านั่ง

                     อย่างนั้นของหล่อน – จงรักภักดีและไม่ประสีประสาทําให้ฉันบ้าหนักเข้า” (อิศรา อมันตกุล, 2531:  125)
                     (ข้อความเน้นโดยผู้เขียนบทความ) ไม่เพียงแต่ตัวละครหญิงถูกเปรียบเทียบกับสุนัขในแง่ของความจงรักภักดี

                     เท่านั้น ท่าหมอบคลานของเยายังเหมือนกับสัตว์ที่สามารถกระตุ้นอารมณ์เพศของตัวละครชายอีกด้วย

                            เรื่อง “ผีถ้ํา” ของมนัส จรรยงค์ จินตนาการถึงสัตว์ป่าประเภทลิงชนิดหนึ่งที่คล้ายคน ตัวละคร
                     “พรานมี” พยายามฉุดสาวใช้ของนักท่องเที่ยวในเมืองแต่ไม่สําเร็จจึงหนีเตลิดไปและหลงเข้าไปในถ้ําพบ “ลิง
                     คน” ตัวเมีย


                                 พรานมียืนนิ่ง คอยทีมองดูนางครึ่งสัตว์ครึ่งคน มันคงจะเจ็บหรือไม่ก็ขาหัก หรืออย่างใด
                            อย่างหนึ่งจึงออกไปหากินไม่ได้ พรานมีมองอยู่เช่นนั้น แต่ก่อนที่จะปล่อยให้มันทําอะไรเขาก่อน

                            สัญชาตญาณของพรานมีกลับเตือนให้เขาทําก่อน
                                   เขากระโดดเข้าไปหานางครึ่งคนด้วยความหื่นกระหาย นางครึ่งคนครึ่งสัตว์อ้าปากกว้างแล
                            เห็นเขี้ยวยาว ถันของมันอันเป็นเต้ากลมโตสั่นกระเพื่อม ขณะที่มันบิดตัวพลิกนอนตะแคง มันก็

                            คนเราดีๆ นี่เอง (มนัส จรรยงค์, 2546: 230)

                                                   เรื่องนี้นําเสนอสัญชาตญาณดิบทางเพศของพรานมีผ่านความรุนแรง

                                            ต่อผู้หญิงเช่นเดียวกับหลายเรื่องในงานกลุ่มนี้ นั่นคือ การใช้กําลังฉุดผู้หญิงมา
                                            ข่มขืน แต่เรื่องนี้ได้จินตนาการไปไกลถึงการสมสู่กับสัตว์ที่ลักษณะเหมือนผู้หญิง


                                                   การเปรียบเทียบผู้หญิงกับสัตว์ในเรื่องสั้นเหล่านี้แสดงให้เห็นการสร้าง
                                            ภาพผู้หญิงในพื้นที่ป่าว่าด้านหนึ่งเป็นความบริสุทธิ์ การไม่รู้ทันการเอาเปรียบ

                                            ของคนเมือง แต่อีกด้านหนึ่งคือการใช้สัญชาตญาณและอารมณ์มากกว่าเหตุผล
                                            อันแสดงถึงภาพลักษณ์ของผู้หญิงใจง่าย


                                                   การสร้างภาพผู้หญิงในลักษณะดังกล่าวเป็นการผลิตซ้ําการแบ่งแยกคู่

                     ตรงข้ามผู้ชาย/ผู้หญิง สังคม/ธรรมชาติ เมือง/ป่า เหตุผล/อารมณ์ โดยที่ในคู่ตรงข้ามดังกล่าวส่วนแรกคือ
                     ผู้ชาย สังคม เมือง เหตุผลมีสถานะสูงกว่า สอดคล้องกับที่ลุยส์ อิริกาเรย์ (Luce   Irigaray) ได้เสนอไว้
                     นอกจากนี้เธอยังได้สรุปว่าผู้หญิงถูกจัดวางไว้ที่ “คนอื่น” (otherness) “ร่างกาย” (body) “ความไร้เหตุผล”
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99