Page 92 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 92

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   91


                            เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของ “ฉัน” ที่ท่องเที่ยวเข้าไปในป่าเวียงป่าเป้าและพํานักกับครอบครัวหนึ่งที่มีลูก
                     สาววัยสิบหกชื่อ “เยา” เขาต้องข่มใจของตนเองไม่ให้ตกหลุมเสน่ห์ของเด็กสาวที่ยอมพลีกายเพื่อชายชาว

                     บางกอก ในเรื่องนี้ “ฉัน” โทษฝ่ายหญิงที่เป็นสาเหตุของราคะที่ครอบงําเขา

                            ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในเรื่องอื่นด้วย ผู้หญิงป่าในเรื่องสั้นเหล่านี้มัก

                     ถูกนําเสนอในลักษณะของหญิงที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจอันเกิดจากความงามที่น่า
                     พิศวง ดังที่ได้กล่าวถึงเรื่อง “ซึงผี” ที่มีการบรรยายภาพของตัวละครหญิง

                     “ดอกไม้” ว่า “เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในบรรดาหญิงชาวกะเหรี่ยงด้วยกัน เจ้า
                     นุ่งถุงดํามีลายและเย็บติดกันเหมือนเสื้อกระโปรง เจาะหูใหญ่และกว้างใส่ไว้

                     ด้วยไม้รวกขัดมันจากสีเหลือง” “เป็นหญิงประหลาดเต็มไปด้วยความพิศวง”
                     เรื่อง “ใครจะเปลื้องบาปนี้ให้ฉัน” ของนัน บางนรา บรรยายถึงตัวละคร
                     “บุหรง” หญิงชาวมุสลิมใต้ว่า “ฉันได้เห็นผู้หญิงสวยงามคนหนึ่งซึ่งแม้ความ

                     ทุกข์โศกและความเศร้าในชีวิตจะมากมายเพียงใด ก็ไม่อาจปิดปังริ้วรอยของ
                     ความงามและความน่ารักนั้นได้ ผมเธอรวบสูงเผยให้เห็นปานดําขนาดเหรียญบาทที่ต้นคอขวา ปานดําอันเต็มไป

                     ด้วยเสน่ห์อย่างรุนแรงและมีชีวิตชีวา” (มนัส จรรยงค์, 2550: 32) เรื่อง “ไพร่ฟ้า” บรรยายภาพบัวคําสาวป่า
                     ทางภาคเหนือว่า “หน้าผ่องผุดประดุจสลักด้วยหยกพุกามนั้นเชิดและเฉย เหมือนกับว่า ณ ที่นั้นปราศจากศัพท์

                     สําเนียงใดๆ ทั้งสิ้น ลูกปัดสีเหลืองเข้มสลับแดงห้อยระย้าใต้กลีบหูสุกปลั่งอยู่ในแสงแดดอ่อน เอื้องผึ้งหลายช่อ
                     ทอดนิ่งบนเรือนผมดําสนิท” (สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ, 2547 : 115)


                            จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี้เป็นการบรรยายลักษณะของผู้หญิงมีลักษณะที่ “เป็นอื่น”  กล่าวคือ เป็นหญิง

                     ชาวป่าชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างภาพเปรียบเทียบให้มีความงามและเสน่ห์อันน่าพิศวงผ่านการแต่งกายแบบ
                     พื้นถิ่นที่แปลกตา หรือเสนอภาพเปรียบของสิ่งที่มีค่า เช่น “หยกพุกาม” หรือดอกไม้ป่าหายากที่ซ่อนตัวอยู่ใน
                     ป่าเขา เป็นการสร้างภาพผู้หญิงแบบฝันเฟื่องเพื่อแสดงนัยว่าการกระทําของผู้ชายสมเหตุสมผล นั่นคือการที่

                     ผู้ชายตกหลุมเสน่ห์ผู้หญิงจนต้องปลุกปล้ํา ข่มขืน ฉุดคร่านั้นเป็นความผิดของผู้หญิงเองที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจ


                       ภาพเปรียบของผู้หญิงกับสัตว์ป่า

                            งานเขียนแนวผจญไพรไม่เพียงแต่สร้างภาพเปรียบของผู้หญิงกับดอกไม้ผ่านการตั้งชื่อ แต่หลายเรื่อง
                     เสนอการเปรียบเทียบระหว่างผู้หญิงกับสัตว์ ในเรื่อง “ซึงผี” ของ มนัส จรรยงค์ ตัวละครชายได้กล่าวถึง
                     สาเหตุที่ดอกไม้เมียของบางมีความสัมพันธ์กับนิตย์ซึ่งเป็นผู้คุมว่า “ก็นางดอกไม้นั่นอยู่หนองหญ้าปล้อง ก็เป็น

                     ป่าเปลี่ยว ครั้นตกมาอยู่กับผัวในป่าลึกทึบเหมือนสัตว์ป่าที่ไม่เคยเห็นคนที่ตื่นใจ ดอกไม้ถือว่าคนที่แต่งตัว
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97