Page 89 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 89

88       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                       งานแนวผจญไพรในระยะก่อนและหลัง พ.ศ. 2500 นั้นจึงมีลักษณะสองแบบคือเป็นทั้งงานแนว
                สัจนิยมผสมผสานกับแนวนิยมเรื่องแนวตื่นเต้นผจญภัยซึ่งเน้นอารมณ์ ความน่าตื่นเต้น ความน่าพิศวงจาก

                สภาวะเหนือธรรมชาติ ในส่วนของสัจนิยมพบว่าเสนอเรื่องป่าในลักษณะของการผจญภัย มีการนําเสนอวิถีป่า
                แบบต่างๆ เช่น การตีผึ้ง (การตอกสลักบนลําต้นและการใช้คาถาไล่ผึ้งจากรัง) การดักสัตว์ด้วยวิธีต่างๆ (การ
                สักแหลน การดักด้วยจั่นห้าว) และประสบการณ์การเผชิญหน้ากับสัตว์ร้าย นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องของโจร

                ดังนั้น งานแนวผจญไพรจึงเต็มไปด้วยเรื่องน่าพิศวงอันเกิดจากเรื่องเหนือธรรมชาติ ความป่าเถื่อนทั้งจากคน
                และสัตว์ ซึ่งสามารถสนองความต้องการของชนชั้นกลางในเมืองที่โหยหาความตื่นเต้น


                  ผู้หญิงในงานผจญไพร: เหตุแห่งหายนะ


                       งานเขียนแนวผจญไพรเกิดขึ้นในระยะที่ป่าในประเทศไทยยังเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยภยันตรายทั้งจาก
                คน เช่น โจร และจากสัตว์ร้ายต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน ป่าก็เป็นพื้นที่ที่เย้ายวนใจชวนให้พิสูจน์ตนเองด้วย

                การเอาชนะธรรมชาติโดยรุกรานด้วยความรุนแรง ถือได้ว่างานแนวผจญไพรกลุ่มนี้เป็นพื้นที่ของผู้ชาย
                โดยเฉพาะ เป็นพื้นที่ที่พิสูจน์ “ความเป็นชาย”


                                                                        ในเมื่อเรื่องผจญไพรเป็น “พื้นที่” ของ

                                                                 ผู้ชาย เป็นที่แน่นอนว่างานแนวนี้ได้สร้าง
                                                                 วาทกรรม ชุดหนึ่งขึ้นมาคือวาทกรรมพิสูจน์
                                                                 ความเป็นชายผ่านการเผชิญหน้ากับคนที่เป็น

                                                                 ศัตรู สัตว์ร้ายและสิ่งลึกลับแปลกประหลาดใน

                                                                 ป่า โดยที่ผู้หญิงไม่มีบทบาทมากนัก แต่หากมี
                                                                 ผู้หญิงอยู่ด้วยในเรื่องเหล่านี้ ก็จะพบว่า
                                                                 บทบาทของผู้หญิงนั้นนําเสนอผ่านระบบการ

                                                                 สร้างภาพแทนของผู้ชาย ผู้หญิงในเรื่องเหล่านี้

                ไม่ได้มีลักษณะสมจริง แต่เป็น “ความเป็นหญิง” ที่สร้างจากจินตนาการที่ผลักดันด้วยแรงขับทางเพศ

                        ดังที่กล่าวแล้วว่ามนัส จรรยงค์เขียนไว้ว่า “เรื่องป่าที่ดี ให้มีพระเอกนางเอกด้วย ให้มีนิยายรักแทรก

                อยู่ในนั้นด้วย” งานเขียนกลุ่มนี้เสนอบทบาทของผู้หญิงในฐานะที่เป็นตัวสร้างปมความขัดแย้ง โดยที่โครงเรื่อง
                ที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนสองแบบคือ แบบแรกเป็นความขัดแย้งระหว่างคนในป่าซึ่งส่วนใหญ่เป็น
                ชาวบ้านด้วยกัน และแบบที่สองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนเมืองกับคนป่า บทบาทของผู้หญิงในงานกลุ่มนี้

                คือเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่นําไปสู่โศกนาฏกรรมโดยที่บางครั้งผู้หญิงยังไม่ได้กระทําสิ่งใดเลย เพียงแค่
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94