Page 87 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 87

86       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน


                เรื่องสั้นและสารคดีได้มากมายไม่มีหมด พ่อเดินทางมาหลายต่อหลายจังหวัดทั้งภาคใต้ ภาคกลาง ภาค
                ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก” (มนู จรรยงค์, 2550:  73) ส่วนลาว คําหอมก็เคยมีประสบการณ์

                เป็นพนักงานป่าไม้เขต จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2495-2499

                       เรื่องเล่าเกี่ยวกับการ “เปิดป่า” รุ่นแรกเกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญของวรรณกรรมแนวสัจนิยม
                เนื้อหาเกี่ยวกับป่าเป็นเรื่องราวที่นักเขียนชนชั้นกลางใช้เป็นข้อมูลดิบในการสร้างสรรค์งานที่น่าสนใจและ

                สามารถ “ขาย” ได้ สุคต ชูพินิจเขียนคํานําของทุ่งโล่งดงทึบ (ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2546) กล่าวถึงบิดา มาลัย
                ชูพินิจ ว่า


                       ผมกลับร้องขอพ่อให้พาเข้าป่า แสวงหาประสบการณ์และความแปลกใหม่ให้แก่ชีวิตในวัยเด็ก
                       และพ่อในครั้งนั้นซึ่งยังนิยมเข้าป่าแสวงหาวัตถุดิบเพื่อนํามาเขียนหนังสือหาเลี้ยงครอบครัวอยู่

                       อย่างสม่ําเสมอก็ไม่ได้ขัดใจ พาผมเข้าไปขุดค้นวัตถุดิบดังกล่าวด้วยแทบทุกครั้ง จะเรียกว่า 3 หรือ
                       4 เดือนต่อครั้งก็เห็นจะได้ (มาลัย ชูพินิจ, 2546: 10)

                       ส่วนมนัส จรรยงค์เขียนล้อไว้ในเรื่อง “เขาต้องการเรื่องป่า” ซึ่งเป็นเรื่องของ “ประดิษฐ์” ที่ต้องการ
                เรื่องราวของป่าไปเป็นวัตถุดิบในการเขียนเรื่อง เขาขอให้เพื่อนชื่อ “เชษฐ์” พาเข้าป่าไปฟังเรื่องจริงที่เกิดกับ

                พราน หลังจากฟังเรื่องเล่าของพรานเกี่ยวกับประสบการณ์ผจญกับสัตว์ป่าของคนหลายคน เชษฐ์คิดว่า “ยังใช้
                ไม่ได้ทั้งนั้น...เชษฐ์คิด ประดิษฐ์ต้องการเรื่องป่าที่ดี ให้มีพระเอกนางเอกด้วย ให้มีนิยายรักแทรกอยู่ในนั้นด้วย
                พุทโธ่เอ๋ย! แล้วมันจะไปหาได้ที่ไหนกัน” (มนัส จรรยงค์, 2546: 55) หลังจากที่พรานเล่าเรื่องสุดท้ายอันเป็น

                ประสบการณ์ของตนเองนั้น ประดิษฐ์ตอบคําถามของเพื่อนที่ถามว่าเรื่องที่ฟังใช้ได้หรือไม่ เขาตอบว่า “อ้าย
                เรื่องแรกๆ ไม่น่าเชื่อ อ้ายเรื่องหลังนี้พอใช้ได้ แต่ต้องเขียนเป็นนวนิยายเพราะว่าถ้าเขียนเป็นเรื่องจริง คนไม่

                ยักเชื่อกันเสียที” (มนัส จรรยงค์, 2546:  70) เรื่อง “บาโหย” ของนักเขียนคนเดียวกันเล่าเรื่องของ “ทรง
                สาลิกา” ที่เดินทางไปหาเพื่อนในป่าดงภาคใต้โดยการซ้อนจักรยานบุกเข้าไปในป่าและได้ฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับ

                ภารกิจของ “สะมะแอ” ที่นําช้างไปผสมพันธุ์ในป่า อันเป็นเรื่องราวที่เขาสามารถนําไปเขียนขายได้

                       เขาร้องครางออกมาในใจด้วยความกระหายและตื่นเต้น ถ้าหากว่าเขาจะได้ร่วมทางไปด้วยกับสะมะแอ

                       อย่างน้อยเมื่อกลับกรุงเทพฯ เขาก็คงได้สารคดีท่องเที่ยวสักเรื่องหนึ่งไปขายให้แก่หนังสือพิมพ์ราย
                       สัปดาห์ที่มักจะรับซื้อเรื่องของเขาอยู่เสมอ เขาไม่ค่อยจะเอาใจใส่ต่อธรรมชาติสองข้างทางนั้นเสีย
                       แล้ว นอกจากจะฟังเรื่องราวจากนายสารถีนั้นต่อไป (มนัส จรรยงค์, 2546: 146)


                       จะเห็นได้ว่าการที่งานแนวผจญไพรเติบโตขึ้นมากนั้นมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการขยายตัวของ
                วงการหนังสือพิมพ์และวรรณกรรม เรื่องราวเกี่ยวกับป่าเป็นวัตถุดิบที่นักเขียนจะนําไปสร้างสรรค์เป็นงานแนว
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92