Page 84 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 84

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   83


                     อยู่ของสัตว์ร้าย สัตว์ประหลาด และคนประหลาด พรานป่าที่มีอาคม โจร ฯลฯ งานเหล่านี้แบ่งได้กว้างๆ 2
                     แบบคือเป็นเรื่องราวความขัดแย้งของชาวบ้านเอง หรือเป็นเรื่องราวของชาวเมืองซึ่งมักเป็นคนกรุงเทพฯ ที่เข้า

                     ไปในป่าด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน
                            เรื่องแนวผจญไพรเป็นงานที่แสดงคู่ขัดแย้งได้หลายแบบ คือ ระหว่างคนกับป่าและสัตว์ป่า และ
                     ระหว่างคนกับคน ในความขัดแย้งระหว่างคนกับคนนี้เองที่จะพบได้ว่ามีบทบาทของผู้หญิงเข้าไปเป็นสาเหตุ

                     ของความขัดแย้งที่นําไปสู่โศกนาฏกรรม บทความเรื่องนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์การนําเสนอภาพผู้หญิง
                     ในงานเขียนแนวผจญไพรรวมทั้งบทบาทที่มักจบลงด้วยความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง


                            เรื่องสั้นที่นํามาศึกษานี้เน้น “พื้นที่” คือ เรื่องที่นําเสนอฉาก

                     ป่า จํานวน 17 เรื่อง ได้แก่ เรื่องสั้นในชุด ป่าราบ ของมนัส จรรยงค์
                     คือเรื่อง “สักแหลน” “เขาต้องการเรื่องป่า” “ป่าดงพงพี” “ป่า
                     เปลี่ยว” “เปลป่า” “ซึงผี” “บาโหย” “ป่าราบ” “ตอกทอย” “รอย

                     แรด” “ห้วยเสือหมก” “ผีถ้ํา” “ชั่วชีวิตพราน” เรื่องสั้นของนักเขียน
                     อื่นๆ คือ “ตังกาเด็ง” ของรัตนะ ยาวะประภาษ “ใครจะเปลื้องบาปนี้ให้

                     ฉัน” ของ นัน บางนรา “ไพร่ฟ้า” ของ ลาว คําหอม “เอื้องฟ้ามุ่ยกลิ่น
                     สาบควาย” ของ อิศรา อมันตกุล งานดังกล่าวมีลักษณะที่หลากหลาย

                     ทั้งงานแนวสัจนิยมและแนวผจญภัย งานทั้งสองแนวนี้มีความต่างกัน
                     ในด้านโครงเรื่องและการสร้างตัวละคร กล่าวคือ งานแนวผจญภัยอาจ

                     สร้างเหตุการณ์และตัวละครที่แปลกประหลาด ส่วนแนวสัจนิยมเสนอ
                     เหตุการณ์และตัวละครที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามงานแนวสัจนิยม

                     มักเสนอตัวละครที่ “ผิดเพี้ยน” ไปจาก “ปกติ” เช่น เรื่อง “ใครจะเปลื้องบาปนี้ให้ฉัน” ของ นัน บางนรา มี
                     ตัวละคร “ซาการียา” ที่พิการ (“หน้าแถบซ้ายยุบไปซีกหนึ่ง เหมือนกระแทกลงกับแง่แข็งอะไรสักอย่างเต็ม

                     แรงทําให้ตาข้างนั้นถลนออกมานอกเบ้าแม้แต่ยามหลับ […]  หลังเล่าก็งุ้มงอเหมือนไหปลาร้าหัก แขนซ้ายหัก
                     คอกลีบเล็ก ขาซ้ายใช้การไม่ถนัด ไปไหนมาไหนแต่ละครั้งเหมือนเขากระเสือกกระสนตัวไป”) เรื่อง “ไพร่ฟ้า”
                     ของ ลาว คําหอม ตัวละครเป็น “ชนชายขอบ” คือ เป็นคนขมุ ดังนั้น ป่าในเรื่องสั้นเหล่านี้จึงยังคงเป็นดินแดน

                     ที่ป่าเถื่อน แปลกประหลาด เต็มไปด้วยเรื่องน่าพิศวงเมื่อมองจากสายตาของผู้เล่าเรื่องซึ่งมักเป็นคนกรุงเทพฯ

                            การพิจารณาเรื่องความรุนแรงในเรื่องเล่าแนวผจญไพรนี้มีลักษณะของกําเนิดและการพัฒนาที่ไม่
                     อาจพิจารณาแยกออกจากบริบทอื่นๆ ของสังคมไทยได้ บทความนี้จึงจะมองปัญหาความรุนแรงในวรรณกรรม

                     เหล่านี้โดยวิเคราะห์จากบริบทสังคม เพื่อทําให้เข้าใจลักษณะเฉพาะของบันเทิงคดีแนวผจญไพรในทศวรรษ
                     2480 จนถึงประมาณต้นทศวรรษ 2500
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89