Page 83 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 83
82 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ท่านยังหาไม่พบ (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, 2551: 5) เรื่องผจญภัยของนักเขียนผู้นี้ยังได้ส่งอิทธิพลไปยังการเขียน
แนว “ผจญไพร” ดังที่มาลัย ชูพินิจได้บันทึกไว้ที่มาของนวนิยายชุด ล่องไพร ของเขาว่า
สุดท้ายวงการประพันธ์ของไทยเราก็ถอยหลังกลับไปสู่แบบซินเดอเรลลาและเพ้อฝัน
หรือ Romantic อีกเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่เรื่องพงศาวดารจีนซึ่งพยายามกําจัดกันออกไป ในที่สุดก็
กลับมาสู่หนังสือพิมพ์รายวัน ในระหว่างบทประพันธ์ดังกล่าวนี้มีบทประพันธ์อีกประเภทหนึ่งที่
ปรากฏออกมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ได้แก่ บทประพันธ์ที่เกี่ยวกับวงการกีฬาและชีวิตการ
ผจญภัยในป่าดงดิบดงดํา ซึ่งได้แก่นวนิยายชุดล่องไพร
ที่มาของนวนิยายชุดนี้ก็เนื่องจากเมื่อบริษัทไทยโทรทัศน์ตั้งสถานีวิทยุ ท.ท.ท. ขึ้น พยายาม
กําจัดรายการนาฏดนตรีหรือลิเกออกไป อยากจะได้บทละครประเภทเที่ยวป่าล่าสัตว์และการผจญภัย
กลางแจ้ง ทํานองเรื่องของ เอช. ไรเดอร์ แฮกการ์ด จึงได้ทดลองเรื่องแรกดู และผู้คนนิยมกันมาก เรื่อง
ที่สองที่สามที่สี่ห้าก็จําเป็นต้องติดตามมา ล่องไพรออกอากาศ ท.ท.ท. อยู่ 5 ปี เป็นนวนิยายผจญภัย
บริสุทธิ์รวมพิมพ์เป็นชุด (มาลัย ชูพินิจ, 2526-2527 อ้างถึงใน สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา, 2541: 37)
เดิมเรื่องราวเกี่ยวกับป่าเขามักปรากฏแทรกอยู่ในนิทานหรืองานประเภทนิราศซึ่งได้กลายเป็นขนบ
การเขียน “ชมดง” ส่วนในวรรณกรรมสมัยใหม่ เรื่องเกี่ยวกับป่าเขาไม่ได้เป็นเนื้อหาหลักของเรื่องเนื่องจาก
เป็นดินแดนที่เข้าถึงได้เฉพาะคนท้องถิ่น อาทิ ชาวบ้านหรือพราน ยากที่คนทั่วไปจะเข้าไปได้ ข้อความข้างต้น
ของมาลัย ชูพินิจได้แสดงให้เห็นประเด็นที่สําคัญสองประเด็นคือ แนวเรื่องผจญภัยของไรเดอร์ แฮกการ์ดเป็น
ต้นแบบของงานแนวผจญไพร และนวนิยายชุดล่องไพรเป็นงานแนวผจญไพรเรื่องแรกของไทย
พิเชฐ แสงทอง (2550) ได้กล่าวไว้ในบทความเรื่อง “’ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์’ ภารกิจของ ‘ความ
เป็นไทย’ ในวรรณกรรมว่าด้วยมุสลิม” เกี่ยวกับเรื่องแนวผจญภัยที่ใช้ฉากในดินแดนใต้สุดของไทยว่ามักใช้
ภาคใต้เป็นพื้นที่ในการปฏิบัติการบางอย่าง เป็นดินแดนแห่งความดิบเถื่อนที่น่าท้าทายและหวาดหวั่น ภาคใต้
“ถูกงานวรรณกรรมบรรยายถึงความป่าเถื่อน ดินแดนเหล่านี้ย่อมกลายเป็นดินแดนประหลาดลึกลับเหนือ
ธรรมชาติไปอย่างช่วยไม่ได้” (พิเชฐ แสงทอง, 2550: 191) วรรณกรรมแนวนี้มักเสนอเรื่องราวของความ
“เถื่อน” เช่น คนป่า หญิงชาวป่า เงาะป่า ตลอดจนสัตว์ที่แปลกพิสดาร อาทิ กบตัวเท่าเด็กแรกเกิด หรือการให้
คนมุสลิมในเขตชายแดนเป็นคนป่าเถื่อน และสัมพันธ์กับไสยศาสตร์ ภาพแทนของดินแดนใต้จึงมีลักษณะ
ตายตัว คือ ล้าหลัง ไม่เจริญเหมือนกรุงเทพฯ เป็นการแสดงความคิดของคนกรุงเทพฯ ที่จะสถาปนาตนเอง
ขึ้นมาอยู่เหนือคนท้องถิ่นโดยใช้มาตรฐาน “ความเป็นไทยที่พัฒนาแล้ว” (พิเชฐ แสงทอง, 2550: 196) และการ
สํารวจดินแดนภาคใต้ได้มีการเปรียบเทียบกับการสํารวจเรือนร่างของผู้หญิง (พิเชฐ แสงทอง, 2550: 197-201)
อันที่จริงหากพิจารณางานแนวผจญไพรโดยทั่วไปที่นิยมเขียนโดยอาจระบุหรือไม่ระบุพื้นที่ว่าเป็นป่า
ภาคไหนของประเทศก็จะพบว่ามักมีการบรรยายพื้นที่ป่าเป็นดินแดนประหลาดลึกลับเหนือธรรมชาติ เป็นที่