Page 82 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 82

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   81


                                “อันบุรุษอาจเปรียบได้เสมือนควายโง่ แม้จะรู้ว่าหนองน้ําปลักโคลน
                                  นั้นจะอุดมด้วยทากและปลิงอันอาจสูบเลือดให้ม้วยมรณ์ไปได้

                                  แต่ความกระหายต่อรสน้ําอันมิรู้เหือดก็นํามันสู่มรณะนั้นโดยมิได้

                                  พรั่นพรึงแต่ประการใด”


                            วรรณกรรมแนวผจญภัยในดินแดนน่าสะพรึงกลัวและเต็มไปด้วยเสน่ห์ของป่าเขาเป็นประเภท
                     วรรณกรรมผจญภัยที่แยกย่อยออกเป็นงานแนว “ผจญไพร”  งานแนวดังกล่าวได้รับความนิยมมากในช่วง

                     ทศวรรษ 2480 จนถึงประมาณต้นทศวรรษ 2500  วรรณกรรมประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของ
                     วรรณกรรมแนวสัจนิยมหลังทศวรรษ 2480 การที่งานเขียนแนวนี้ได้รับความนิยมนับเป็นการแสดงความ

                     เติบโตของวงการหนังสือที่ผู้อ่านต้องการความหลากหลายของเนื้อหา และนักเขียนก็สนองความต้องการโดย
                     การศึกษาค้นคว้า ข้อน่าสังเกตก็คืองานเขียนแนวนี้เกิดจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนซึ่งมักเป็น “นักนิยม

                     ไพร” ผสมผสานกับจินตนาการ

                            งานแนวผจญภัยนับเป็นเรื่องเล่าแบบดั้งเดิมที่สุดที่มีในสังคมไทย นั่นคือ นิทานที่เกี่ยวกับการผจญ

                     ภัยของตัวเอกที่เข้าไปในป่าเขาหรือสถานที่แปลกถิ่นและเผชิญกับคนและสัตว์ร้ายนานา มีความสอดคล้องกับ

                     ความต้องการของมนุษย์ที่เบื่อหน่ายชีวิตประจําวันและต้องการรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับดินแดนที่ลึกลับ น่าค้นหา
                     เมื่อรูปแบบบันเทิงคดีได้รับความนิยมมากขึ้นในวงวรรณกรรมไทยก็ยังคงลักษณะของวิธีการเล่าเรื่องแบบเดิม
                     อยู่คือการให้ตัวละครตัวหนึ่ง (มักเป็นพราน/นักผจญภัย) เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยให้ตัวละครอีกตัว

                     หนึ่งฟัง นวนิยายแนวนี้ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกผ่านเรื่องแปล และหนังสือประกอบภาพยนตร์
                     ต่างประเทศ ซึ่งต่อมาได้ทําให้นักเขียนไทยเริ่มแปลงและแต่งเองในที่สุด กรณีที่เห็นได้ชัดก็คืองานวิจัยของ

                     ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ที่ศึกษา “นางเนรมิต: เทพธิดาอียิปต์, เรื่องเพศและความเพ้อฝันของผู้ชายในนวนิยายไทย
                     ยุคแรก” โดยพบว่าหลวงวิลาศปริวัตรผู้แต่งเรื่อง ความไม่พยาบาท ได้มีผลงานประพันธ์อีกเรื่อง ซึ่งผู้วิจัย

                     สรุปว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่สองของไทยคือเรื่อง นางเนรมิต เป็นงานเขียนที่แปลกตรงที่ไม่มีตัวละครหรือฉาก
                     เกี่ยวกับไทยเลย เสนอการผจญภัยของคนอังกฤษในอียิปต์ได้อย่างสมจริง มี “การดําเนินเรื่องและโครงเรื่อง

                     แนวอัศจรรย์น่าจะดึงดูดผู้อ่านชาวไทย เพราะย้ําถึงมุมมองเกี่ยวกับอคติของบุรุษต่อสตรี และใช้การดําเนิน
                     เรื่องที่คุ้นเคยคือเรื่องผี เวทมนตร์ การมั่วสวาท ฉากสู้รบมโหฬาร และค่านิยมพุทธศาสนา” (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ,
                     2551: 8) ทําให้งานเขียนแนวผจญภัยเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวของ

                     นักเขียนอังกฤษ เอช. ไรเดอร์ แฮกการ์ด (Sir Henry Rider Haggard, 1856 – 1925) ครูเหลี่ยมมีผลงาน
                     แปลของนักเขียนผู้นี้สองเรื่อง คือ สาวสองพันปี (She) และ King Solomon’s Mines แต่สํานวนแปลของ
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87