Page 73 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 73
72 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ลักษณะของละครปรากฏชัดเจนในที่สุดในภาคสุดท้าย ผู้เขียนมีการแบ่งเนื้อหาเป็นองก์ และระบุตัวละครคู่
กับ “รายชื่อนักแสดง” เพื่อตอกย้ําความเป็นโลกสมมติของชีวิตมนุษย์อันสัมพันธ์กับคติทางพุทธศาสนา
ลักษณะที่น่าสังเกตในวาทกรรมพุทธศาสนาที่ผู้เขียนหยิบเลือกมาใช้คือการชี้ให้เห็นว่าความทุกข์เป็น
สมบัติร่วมของมนุษย์โดยไม่แบ่งแยกเพศ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครในเรื่องไม่ได้จํากัดอยู่ที่กลุ่มเกย์ที่มี
ความปรารถนาเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงตัวละครอื่นๆ ที่ไม่อาจ “ตัดละ” จากโลกสมมติของตนได้ ที่เห็นได้
ชัดเจนคือกรณีของจอมขวัญผู้ต้องเป็นทุกข์หนักเพราะชาติชาครีต์และนพปฎลสามีผู้ปกปิดเพศวิถีของเธอ
จอมขวัญต้องสูญเสียทุกอย่างจนกลายเป็นอัมพาตทําให้เธอเริ่มหันมาทําความเข้าใจพระพุทธศาสนาให้ถ่องแท้
สัญลักษณ์สําคัญที่ผู้เขียนใช้คือ “แมลงวัน” ที่คอยตอมหน้าชาติชาครีต์ในภาคแรก และตามมาตอมจอมขวัญ
ในภาคที่สอง อรรถวุฒิ มุขมา (2546: 299-300) ตีความว่าแมลงวัน หมายถึงโรคร้ายที่ชาติชาครีต์ต้องเผชิญ
ผู้เขียนบทความเห็นว่าแมลงวันเป็นสัญลักษณ์ของโรคร้ายเพราะเป็นพาหะนําโรคจริง แต่อาจยืมการตีความ
สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ช่วยขยายความได้ว่าแมลงวันเป็นสัญลักษณ์ของบาป (เฟอร์กูสัน, 2549: 12) ที่
เชื่อมโยงได้กับอวิชชาตามนัยของพุทธศาสนา ดังนั้นเมื่อจอมขวัญขัดเกลาจิตใจของตนจนผ่องแผ้วหมดความ
เศร้าหมองแล้ว แมลงวันจึงหายไป
ตัวละครตัวอื่นที่ต้องว่ายวนอยู่ในความทุกข์ยังมีใจรักที่สะเทือนใจอย่างลึกซึ้งกับการจากไปของ
กุญแจ ตัวละครที่เป็นคู่สัมพันธ์ของเขตพิภพที่ต้องดิ้นรนแสวงหารักแท้ บางคนต้องพบกับคนรักที่เป็นเกย์
อย่างปิดบัง และบางคนเคยมีรูปลักษณ์งดงามเป็นนางแบบแต่กลับเจ็บป่วยทุกข์ทรมานด้วยความยึดติดกับ
โลกสมมติของตน “เพื่อนคุณหมอ เขา ‘หลง’ ทาง ปัญหาหลายเรื่องรุมเร้า อยู่ๆ ก็เลยไม่อยากกินข้าวขึ้นมา
เฉยๆ คิดว่าตัวเองอ้วนมาก ทั้งที่ความจริงผอมจนเหลือแต่กระดูก ลมพัดทีตัวปลิวได้...สาเหตุเกิดจาก
psychosocial stress บุคลิกภาพของคุณปานดวงใจเป็นแบบ perfectionist มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
พร้อมบุคลิกภาพบกพร่องแบบ bipolar disorder” (ห่วงจําแลง, 2551: 300)
ลักษณะเด่นของนวนิยายชุดนี้สําหรับผู้เขียนบทความคือการกําหนดให้ชื่อเรื่องทั้ง 3 ภาคเรื่องต่อกัน
เป็นภาพใหญ่เพื่อสื่อแนวคิดเรื่องไตรลักษณ์อันเป็นสารสําคัญทางพุทธศาสนา ทั้งนี้ผู้เขียนบทความไม่ได้
หมายความว่า “เนื้อหา” ของนวนิยายแต่ละเรื่องมุ่งเสนอประเด็นใดประเด็นหนึ่งในไตรลักษณ์เป็นการเฉพาะ
แต่หมายถึงเนื้อหาของนวนิยายไตรภาคทั้งหมดที่หลอมรวมกันเพื่อสื่อสารสําคัญ อธิบายได้ดังนี้
ซากดอกไม้ = อนิจจัง คือความไม่ยั่งยืนของสรรพสิ่ง ดังอุปลักษณ์ดอกไม้ที่งดงามและต้องกลับ
กลายเป็นเพียงซาก เหมือนกับชีวิตของตัวละครแต่ละตัว ชาติชาครีต์ใน ซากดอกไม้ ผู้เคยมีรูปลักษณ์งดงาม
และผู้คนพากันลุ่มหลงกลับกลายเป็นคนที่ป่วยเป็นโรคร้าย ภาพฝันครอบครัวและเส้นทางธุรกิจอันงดงามที่
จอมขวัญใน ด้ายสีม่วง เชื่อมั่นว่าเธอจะไม่ต้องผิดหวังซ้ําสองกลับถูกทึ้งทําลายด้วยการประจักษ์การร่วมเพศ
หมู่ของนพปฎลจนเธอต้องกลายเป็นอัมพาต หรือสมคะแนและล่าฌายน์ใน ห่วงจําแลง ที่คิดว่าตนจะตักตวง